พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday November 13, 2020 13:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 137/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนภาคใต้ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรงและมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 15-19 พ.ย. ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนบางแห่ง ในช่วงที่มีอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยเกษตรกรควรให้ปริมาณอาหารแก่สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 -20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยในระยะครึ่งหลังของช่วงบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคได้มีกำลังแรง นอกจากนี้ พายุโซนร้อน "โคนี (GONI (2019))" ในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันแรกของช่วง จากนั้นอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามเข้าปกคลุมประเทศกัมพูชาในวันที่ 7 พ.ย. กับมีพายุโซนร้อน "เอตาว (ETAU (2021))" ในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองนาตรัง ประเทศเวียดนามเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 พ.ย. พร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ และปกคลุมประเทศกัมพูชาในวันต่อมา ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลดทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวบางพื้นที่ และมีฝนส่วนมากในระยะต้นและปลายช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่7 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 7 พ.ย. และบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 11 พ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 9-11 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กำแพงเพชร สระแก้ว จันทบุรี ตราด พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ