พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Monday February 1, 2021 13:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 14/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียสกับมี อากาศหนาวและมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ตลอดช่วงทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนบางพื้นที่

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจร โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.พ. 64 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 64 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยอุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศไม่สะดวกแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอุปสรรค ต่อการใช้รถใช้ถนนและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนึ่ง ระยะนี้เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 64 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 64 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • สำหรับเกษตรกรที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยงควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งานเพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย ส่วนปริมาณน้ำระเหยที่มีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโตและให้ผลผลิต

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 64 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอุปสรรคต่อการสัญจร และ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.พ. 64 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้น ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ดังนั้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25 - 31 มกราคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกแล้วอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ในสัปดาห์นี้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนบางพื้นที่ในระยะดังกล่าว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีหนาวบางพื้นที่ ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภู มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางแห่ง บริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค ในวันที่ 25, 26 และ 28 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อย ถึงปานกลางร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันที่ 26 และ 31 ม.ค. กับมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 60 ของพื้นที่ในวันที่ 27 ม.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ