พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday March 5, 2021 14:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 28/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5-6 และ 10-11 มี.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 8-10 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมและวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-6 และ 9-11 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันหนอนกอในอ้อยระยะแตกกอ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-7 และ 10-11 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันเพลี้ยไฟในพริก สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-6 และ 10-11 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควรเก็บกักน้ำ ไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-11 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้งในเงาะ นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2564 ในระยะครึ่งแรกของช่วงหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีลมตะวันตกในระดับบนพัดผ่านประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงดังกล่าว ส่วนในระยะครึ่งหลังของช่วงบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในระยะปลายช่วงที่พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิลดลง กับมีฝนในระยะครึ่งหลังของช่วงและมีลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนในระยะปลายช่วงจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงดังกล่าว

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค ส่วนในตอนกลางวันอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะปลายช่วง กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิจิตร แพร่ และกำแพงเพชรในวันที่ 3 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ในวันที่ 28 ก.พ., 2 และ 4 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งและมีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ในวันที่ 3 มี.ค. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและอุดรธานีในวันที่ 2 มี.ค. และบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 3 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีในวันแรกของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 3 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในวันที่ 3 มี.ค. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 2 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 35-45 ของพื้นที่ในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แพร่ น่าน พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ระยอง จันทบุรี และตราด

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ