พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Wednesday April 21, 2021 13:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 48/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. บริเวณประเทศไทยมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ และมีอากาศร้อนจัด ในภาคเหนือ โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน กับยังคงมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ มีลมตะวันตกพัดปกคลุมตลอดช่วง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 26-27 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและ

ป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 23-27 เม.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผักซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรระวังอันตรายจากสภาพอากาศร้อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด นอกจากนี้ควรดูแลหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21-22 เม.ย. ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 23-27 เม.ย. ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า และโรคผลเน่าในไม้ผล นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 เมษายน 2564 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ