พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday April 30, 2021 15:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 52/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางของประเทศไทย มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วน

ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้ามาบริเวณประเทศเมียนมาและภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. และ 5-6 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. และ 5-6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผักซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. และ 5-6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะมีพายุฝนฟ้าคะนองเพราะอาจเกิดอันตรายจากฟ้าผ่า นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. และ 5-6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. และ 5-6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าและโรคผลเน่าในไม้ผล นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 23 - 29 เมษายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วงอนึ่งบริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งหลังของช่วง แล้วแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีฝนร้อยละ 5-55 ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอากาศคลายความร้อนอบอ้าวลงเกือบทุกพื้นที่จากปริมาณและการกระจายของฝนที่เพิ่มขึ้นกับมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งจากอิทธิพลของลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วงกับมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 24 เม.ย. บริเวณจังหวัดลำพูนในวันที่ 24-25 เม.ย. บริเวณจังหวัดน่าน พะเยา ตาก และอุตรดิตถ์ในวันที่ 25 เม.ย. บริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 25-26 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 25, 26 และ 29 เม.ย. และบริเวณจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน และกำแพงเพชรในวันที่ 26 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันที่ 28 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง เว้นแต่ในวันที่ 26, 28 และ 29 เม.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 24, 26 และ 29 เม.ย. บริเวณจังหวัดสกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ มหาสารคาม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ เลย และบึงกาฬในวันที่ 26 เม.ย. บริเวณจังหวัดยโสธร ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และอุดรธานีในวันที่ 26 และ 28 เม.ย. และบริเวณจังหวัดนครพนม สุรินทร์ และร้อยเอ็ดในวันที่ 28 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26 และ 28 เม.ย. โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีและอ่างทองในวันที่ 23 เม.ย. บริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 24 เม.ย. และบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี ราชบุรี สระบุรี และบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 25 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วงโดยมีฝนร้อยละ 45-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 26 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 26 เม.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและปัตตานีในวันที่ 23 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 27 และ 29 เม.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26 เม.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ยโสธร อุทัยธานี ลพบุรี นราธิวาส และภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิจิตร เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ