พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Monday May 10, 2021 15:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 56/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. 64 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 14 -16 พ.ค. บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ จะมี ฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และ ไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรเก็บของขึ้นสู่ที่สูง และผูกยึดอุปกรณ์เครื่องใช้ ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำพัดพา

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะ ลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของแมลงวันผลไม้ ในไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่14 - 16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งและไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง และควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม 2564 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนในวันที่ 5-6 พ.ค. อนึ่งบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางสัปดาห์ แล้วอ่อนกำลังลง โดยมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่และมีพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดสัปดาห์ กับมีลมตะวันออกและ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันที่ 6-7 พ.ค. ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 5, 6 และ 8 พ.ค. มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนัก บางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายและพะเยาในวันที่ 3 พ.ค. จังหวัดลำปางในวันที่ 3 และ 5 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 3, 5, 6 และ 8 พ.ค. จังหวัดพิจิตรในวันที่ 4, 6, 7 และ 8 พ.ค. จังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 4 และ 7 พ.ค. จังหวัดลำพูนในวันที่ 5 พ.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 5-6 พ.ค. จังหวัดตากในวันที่ 6 พ.ค. และจังหวัดแพร่ในวันที่ 8 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 5 พ.ค. มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานพายุ ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 3-4 พ.ค. จังหวัดขอนแก่นและยโสธรในวันที่ 4 พ.ค. จังหวัดสุรินทร์ ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ในวันที่ 4-5 พ.ค. จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีในวันที่5 พ.ค. จังหวัดนครพนมในวันที่ 5-6 พ.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 5 และ 9 พ.ค. จังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 6 และ 8 พ.ค. และจังหวัดเลยในวันที่ 7 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 4 พ.ค. จังหวัดสระบุรีในวันที่ 4-5 พ.ค. จังหวัดราชบุรีในวันที่ 4 และ 6 พ.ค. จังหวัดอ่างทองในวันที่ 4 และ 7 พ.ค. จังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 5 พ.ค. และจังหวัดชัยนาทในวันที่ 6 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะ ครึ่งแรกและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5-7 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 4, 6 และ 7 พ.ค. จังหวัดนครนายกและจันทบุรีในวันที่ 5 พ.ค. และจังหวัดชลบุรี ระยอง สระแก้ว และตราดในวันที่ 6 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5-6 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 6 พ.ค. โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชในวันที่ 6 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 6 พ.ค. มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับ มีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 5, 6 และ 8 พ.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ สงขลา และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ