พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday May 14, 2021 14:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 58/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับยังคงมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีลมกระโชกแรงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 -80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ส่งผลให้เกิดโรคพืชจากเชื้อราได้ ซึ่งโรคดังกล่าวมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง ส่วนระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลและซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนเกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินให้มีการระบายน้ำที่ดี และหากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคที่มักเกิดในช่วงฤดูฝน เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ และโรคคอบวมในโคและกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • เนื่องจากในระยะครึ่งหลังของเดือนนี้จะเป็นช่วงฤดูฝน ส่วนระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมพื้นที่ให้มีการระบายน้ำได้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 มีฝน ฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่จะมีฝน ฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของ ไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อเกิดลมแรง สำหรับชาวสวนผลไม้ไม่ควรกองสุมเปลือกและผล ที่ร่วงหล่น เน่าเสียไว้ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคเชื้อราซึ่งมักเกิดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกัน ความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำให้น้ำไหลได้สะดวก สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่เนื่องจากบางพื้นที่ ฝนที่ตกยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 7 - 13 พฤษภาคม 2564 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง กับมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันที่ 9 พ.ค. และในระยะปลายช่วง อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นช่วงแล้วอ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่งและมีพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไป สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝน ร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8 พ.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 8 และ 11 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 7 พ.ค. จังหวัดพิจิตรในวันที่ 7 และ 8 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ และกำแพงเพชรในวันที่ 8 พ.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 10 พ.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 13 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุ ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 7, 8 และ 10 พ.ค. จังหวัดกาฬสินธุ์และสุรินทร์ในวันที่ 8 พ.ค. จังหวัดยโสธรและร้อยเอ็ดในวันที่ 8 และ 11 พ.ค. จังหวัดชัยภูมิและนครราชสีมาในวันที่ 9 พ.ค. จังหวัดนครพนมและอำนาจเจริญในวันที่ 10 พ.ค. จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 10 และ 11 พ.ค. และจังหวัดมุกดาหารในวันที่ 13 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 30-65 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนักบางแห่งในวันที่ 8, 10 และ 13 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 7 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 35-70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนัก

บางแห่งในวันที่ 12 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 7 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 9 และ 13 พ.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลาในวันที่ 11 และ 12 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันที่ 10-12 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 50-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7 และ 9 พ.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร หนองบัวลำภูมิ สกลนคร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ