พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday May 6, 2022 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 54/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น และฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนขึ้นไปปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมใต้และตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

คำเตือนในช่วงวันที่ 6-12 พ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และฝนที่ตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น หนอนกระทู้ในต้นหอม เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะหลังคาอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับในบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดสลับ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น เพลี้ยไฟในส้มโอ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนที่อ่อนต่างๆ ของส้มโอ ทำให้ผลส้มโอชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับในบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดสลับ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น เพลี้ยไฟในส้มโอ โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนที่อ่อนต่างๆ ของส้มโอ ทำให้ผลส้มโอชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. มีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. มีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

- ระยะนี้ปริมาณการกระจายของฝนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคใบร่วงในยางพารา เป็นต้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2565 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะกลางและปลายช่วง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชาในวันที่ 1-2 เม.ย. จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนมาปกคลุมบริเวณภาคใต้ในวันที่ 3 เม.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วงจากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไป โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วงจากนั้นมีฝนลดลง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วงจากนั้นมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน โดยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่และมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย ลำพูน น่าน และพะเยาในวันที่ 30 เม.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 2 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง ส่วนในระยะครึ่งหลังของช่วงอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในวันที่ 30 เม.ย. - 3 พ.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 1 พ.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 29 เม.ย. และจังหวัดหนองคายในวันที่ 30 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วง ส่วนในระยะครึ่งหลังของช่วงมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ในวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะต้นช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในวันที่ 3-4 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ในวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 2 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรก ของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 3 พ.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 4 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 เม.ย. และ 4 พ.ค. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 30 เม.ย.

มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด พัทลุง ยะลา ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ