พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday July 1, 2022 13:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 78/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศ/ ต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือน ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอ่าวไทยและอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน งดออกจากผั่ง จนถึงวันที่ 6 ก.ค. 65

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 1-3 ก.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปผูกไว้ใกล้ลำธารหรือทางน้ำไหลหลาก เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค และกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้การกระจายของฝนมีเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนที่ตกติดกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคใบจุดในพืชตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจพื้นที่รอบฟาร์มและทำการตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้หักโค่นมาโดนหลังคาโรงเรือนหรือสายไฟ รวมทั้งควรหมั่นดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยง หากพบมีสัตว์ป่วยให้รีบแยกออกจากกลุ่ม แล้วทำการรักษาก่อนจะแพร่ระบาดไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 1-5 ก.ค. 65 ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนบน คลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ นอกจากนี้เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วยคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1-7 ก.ค. บริเวณทะเลอ่าวไทยและอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีบริเวณที่มีฝนฟ้าโดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันมันและอ่าวไทยตอนบน งดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนกระจายเกือบตลอดช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักหลายพื้นที่ทางตอนของภาค โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยาและน่าน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงรายและพะเยาในวันที่ 30 มิ.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 29 และ 30 มิ.ย. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 30 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและในวันสุดท้ายของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิและสุรินทร์ในวันที่ 24 มิ.ย. และจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 25 มิ.ย.

ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 27 และ 29 มิ.ย.

ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 28 และ 29 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 15-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพัทลุงในวันที่ 28 มิ.ย. กับดินถล่มบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 28 และ 30 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ร้อยเอ็ด นครราชสีมา นครสวรรค์ และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ