พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday July 15, 2022 13:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 84/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราสำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิมส่วนในระยะนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่นโรคดอกเน่าในดาวเรืองโรคผลเน่าในลำไยและโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชหากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกโดยเผาหรือฝังให้ลึกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • พื้นที่ซึ่งมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกัน โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู นอกจากนี้เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และแผงกำบังฝนสาด อย่าให้รั่วซึม พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพริกควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคแอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง ซึ่งพบเป็นจุดช้ำบนผลพริกที่เริ่มสุก ลุกลามจนทำให้ผลเน่า โค้งงอ บิดเบี้ยว ลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน ซึ่งจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ สำหรับในช่วงฤดูฝนศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น ไร ต่างๆ จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่นโรคดอกเน่าในดาวเรืองโรคยอดเน่าในกล้วยไม้และโรคแอนแทรคโนสในองุ่น เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูกและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16 - 21 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 15 - 16 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนไม้ผลที่หักโค่นในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูและผูกยึดให้ตั้งตรง หากมีรอยแผลให้ทำความสะอาดแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 8-14 กรกฏาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต้นช่วง โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและตอนบนของภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวในวันที่ 9 ก.ค. และได้พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในระยะกลางช่วง จากนั้นร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาโดยมีฝนตกชุกเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ สำหรับบริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 10 และ 14 ก.ค. จังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 12-14 ก.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 14 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 13 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และฝนหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่นในวันที่ 9 และ 13 ก.ค. จังหวัดชัยภูมิและบุรีรัมย์ในวันที่ 11 ก.ค. จังหวัดมุกดาหารในวันที่ 13 ก.ค. และจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 14 ก.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 10 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรีในวันที่ 9 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีและจันทบุรีในวันที่ 12 ก.ค. และจังหวัดตราดในวันที่ 14 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 8-9 ก.ค. จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 9-12 ก.ค. จังหวัดนราธิวาสในวันที่ 9, 12 และ 14 ก.ค. และจังหวัดพัทลุงในวันที่ 13 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และตรังในวันที่ 9 ก.ค. จังหวัดภูเก็ตและสตูลในวันที่ 12 ก.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 10 และ 12 ก.ค.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลพบุรี นครนายก ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ