พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday August 8, 2022 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 8 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 94/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกระจายเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 8-12 ส.ค. 56 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเฉพาะบริเวณทะเลอันดามันตอนบนเรือเล็กงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 9 ส.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

วันที่ 8-9 ส.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วง30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุก โดยในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบเชิงเขาและบริเวณลำธารที่น้ำไหลผ่าน สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นเกษตรกรที่ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาดควรระวังการระบาดของโรคเน่าเละไว้ด้วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรดูแลโรงเรือนให้มั่นคงแข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

วันที่ 8-9 ส.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วง28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เนื่องจากฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกชุก ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย สำหรับชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ซึ่งลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้าแปลงนาแล้วจับหอยดังกล่าวไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้ามาแพร่พันธุ์และกัดกินต้นข้าว

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-12 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เนื่องจากฝนที่ตกชุกในระยะนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เช่น โรคยอดเน่ารากเน่าในสับปะรด โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 ในช่วงวันที่ 8-12 ส.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 ในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ส.ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนหนัก เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-12 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 9 ส.ค.

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2565

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนในวันที่ 5 และ 6 ส.ค. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนกับฝนหนักหลายพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 2 ส.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮองสอนและเชียงใหม่ในวันที่ 2 ส.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 1 ส.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 2 ส.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 6 ส.ค. และจังหวัดเพชรบูรณในวันที่ 7 ส.ค

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 1 และ 5 ส.ค. มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 1 ส.ค. จังหวักมุกดาหารในวันที่ 4 ส.ค. และจังหวัดเลยในวันที่ 7 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์

ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากบริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 1 ส.ค. จังหวัดจันทบุรีและตราดในวันที่ 7 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4, 5 และ 7 ส.ค. มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 1, 2 และ 6 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนราธิวาสในวันที่ 5-6 ส.ค. จังหวัดปัตตานีและยะลาในวันที่ 6 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4, 5 และ 7 ส.ค. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์. และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 1 ส.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกระบี่และพังงาในวันที่ 1 ส.ค. และจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 1-2 ส.ค.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร ระยอง จันทบุรี ตราด พังงา และกระบี่ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ