พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Wednesday November 9, 2022 13:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 134/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. 65  บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคตะวันออก สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. 65  บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลจีนใต้ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น         คำเตือนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย.65  ภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย.65 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 พ.ย.65 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย.65 ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 12-15 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศา แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-0 พ.ย.65 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด เฉียงเหนือ 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย.65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. 65 ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 10-15 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา แต่ยังมีอากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนได้ในบางพื้นที่ส่วนทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้วไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรืองอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง

กลาง ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้าและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. จะมีฝนได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้ควรระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล พืชผักไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. -ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. จะมีฝนได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย.65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำPK ลักษณะอากาศใน 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 พฤศจิกายน 2565 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ จันทบุรี ตราด ชุมพร พัทลุง ปัตตานี ยะลา พังงา และตรัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ