พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday November 14, 2022 14:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 136/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14 - 18 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดพาความชื้นจากทะเลเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงในระยะถัดไป สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ย. 65

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 18 พ.ย. สำหรับตอนบนของภาคมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 เฉียงเหนือ ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ย. สำหรับตอนบนของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หลังจากนั้นในช่วงวันที่19-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนในระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน กลาง ในช่วงวันที่ 14 - 18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูหนาวและฤดูร้อน ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพและควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30

กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง สำหรับในช่วงที่ผ่านมา บริเวณที่เคยถูกน้ำท่วมขังทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวในยางพารา โรคเชื้อราในไม้ผลและยางพารา และโรครากเน่าโคนเน่าในพริก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 7 - 13 พฤศจิกายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกในวันแรกของสัปดาห์ กับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้าโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์และในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่าง ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นร่องมรสุมดังกล่าวได้เลื่อนลงไปพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกาในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีรายงานน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว กับมีรายงานน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ของจังหวัดเลย โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์และในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ และมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในวันที่ 8-10 พ.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 30-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปัตตานี สงขลา ยะลา และนราธิวาสในวันที่ 11-13 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 9-10 พ.ย. โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8-9 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ