พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday December 2, 2022 15:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ระหว่างวันที่ 2 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 144/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะเคลื่อน/ เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง จากนั้นจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือนในช่วงวันที่ 2-8 ธ.ค. 65 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวันในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค.คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในวันที่ 2-3 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรืองอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วยตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

กลาง ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสและโรคราดำในมะม่วง เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราดำในมะม่วง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค. 65 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้เลี้ยงสัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่งPK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนและปกคลุมทะเลจีนใต้เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะปลายช่วง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นเป็นลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศไม่หนาวเย็นมากนักแต่มีรายงานฝนตก แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าในบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับภาคใต้ร่องมรสุมได้พาดผ่านบริเวณภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบนและทะเลอันดามันตอนบนในระยะต้นช่วง โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะต้นช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 40-85 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง ส่วนในระยะกลางช่วงมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 1 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 60-75 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกช่วงและวันที่ 29 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 25, 26 และ 30 พ.ย. มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกช่วงและวันที่ 30 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานีและสุพรรณบุรีในวันที่ 30 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 25-26 พ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25, 27, 28 และ 29 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 75-95 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 26 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 25 และ 29 พ.ย. มีมากกว่าฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง

ช่วง 7 วันที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ