พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 มกราคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday January 9, 2023 14:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ระหว่างวันที่ 9 - 15 มกราคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. 66 ส่งผลทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 10 - 11 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลงลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนระยะนี้จะมีลมแรงโดยเฉพาะในวันที่ 13 -15 ม.ค. เกษตรกรควรสำรวจแผงกำบังลมหนาว หากชำรุดควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติป้องกันลมโกรกโรงเรือน และควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับบริเวณยอดดอยอาจเกิดน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน ลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในวันที่ 15 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนพื้นที่ซึ่งมีหมอกในตอนเช้า ทำให้อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก โดยเฉพาะพืชตระกูลแตง ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ใบเป็นจุดสีเหลือง เป็นปื้นไปตามแนวใบ ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาล ลุกลามจนใบหลุดร่วง ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

กลาง ในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาพน้ำเปลี่ยน รวมทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 10 -14 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในวันที่ 15 ม.ค. จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศเปลี่ยน และควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ และควรกักเก็บน้ำในช่วงนี้ไว้ใช้สำหรับการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 13 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 31 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % - ในช่วงวันที่ 10 -13 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงโดนฝนและอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน รวมทั้งควรรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ และโรคราสีชมพูในไม้ผล เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกในบางวัน สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัด ปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในระยะดังกล่าวส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 2-3และ 8 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 2, 6 และ 8 ม.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 2 ม.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ สัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่สุราษฎร์ธานีและพัทลุง โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 360.2 มม. ที่อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ในวันที่ 7 ม.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ