พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 มกราคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday January 20, 2023 15:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 มกราคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 23 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิ

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ตลอดช่วง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 -3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตลอดช่วง

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าฝั่ง สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 20 - 21 และ 25 - 26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรให้อาหารสัตว์น้ำในช่วงสายหรือช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้นการเจริญเติบโตดีขึ้น ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือนตลอดจนโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ตะวันออก

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 24 - 26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส กับมีลมเฉียงเหนือ

แรง อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20 - 23 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 -

25 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่จุดไฟ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง หากใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชตระกูลถั่วและพืชผัก บางชนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโตและระยะผลิดอกออกผล ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงหนาวเย็นและตายได้

กลาง

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 25 - 26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือนตลอดจนโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ระยะนี้อากาศแห้ง เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนควรทำที่กำบังลมให้กับกล้วยไม้ เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือนทำให้ความชื้นลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ดอกสีซีดจาง ผลผลิตด้อยคุณภาพ ตะวันออก

          อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง โดยในวันที่ 25 - 26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์    50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับมะม่วงที่อยู่ในระยะ    ออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราดำ โดยฉีดน้ำบริเวณทรงพุ่ม แต่ไม่ควรฉีดน้ำแรงเกินไป เพราะจะทำให้ดอกช้ำการติดผลลดลงได้ นอกจากนี้ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงรวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือนตลอดจนโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน  ใต้
          ฝั่งตะวันออก ทางตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 24 - 26 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 20 - 21 และ 25 - 26 ม.ค.      มีฝนตกหนักมาก ในช่วงวันที่ 21 - 26 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเล        มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 %  ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %   - ระยะนี้ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นทำให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วเพื่อให้ต้นมีเวลาฟักตัวได้นานขึ้น รวมทั้งควรเก็บกวาดเปลือกผลไม้และผลที่เน่าเสียร่วงหล่นไปกำจัดนอกบริเวณสวนโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช สำหรับทางตอนล่างของภาคดินและอากาศยังคงมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง  AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะต้นช่วง โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 15-16 ม.ค. จากนั้นได้แผ่ลงมาปกคลุม

ประเทศไทย นอกจากนี้มีลมตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาว ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะต้นช่วง จากนั้นในระยะครึ่งหลังของช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดช่วง

          ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่     ในวันที่ 13 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนปานกลางบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 15 ม.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาว      บางพื้นที่ในวันที่ 16 ม.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคจากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-60 ของพื้นที่ในวันที่ 13, 14 และ 18 ม.ค. กับมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในบางวัน และมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง
          ช่วงที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด สงขลา และสตูล  โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 87.2 มม. ที่ กกษ.คอหงส์             อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 19 ม.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ