พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday February 8, 2023 14:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 17/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 8-14 ก.พ. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลม/ ใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดพาความหนาวเย็นจากที่ราบสูงทิเบตและประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียสในระยะแรก สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ส่วนเกษตรกรควรระวังผลผลิตทางเกษตรเสียหาย เนื่องจากฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 66 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างและโรคราแป้งในพืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น ตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากเฉียงเหนือ ทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไร เป็นต้น กลาง มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย

ตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุเก็บสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยและเข้าสู่ช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. -ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชหรือโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร กาญจนบุรี ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และยะลา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ