พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday February 20, 2023 14:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 22/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-24 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังอ่อน แต่ยังทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง สำหรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-11 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าและในบางพื้นที่ยังคงมีความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวแก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้อาหารแก่สัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เพราะในช่วงอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อาจทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-24 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยน้ำ รักษาความชื้นในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-24 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงส่วนมากทางตอนล่างของภาค ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล เช่น โรคราแป้ง โรคใบติด และโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 กุมภาพันธ์ 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวแล้วอ่อนกำลังลง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่ได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในระยะกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวันในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีรายงานฝนและฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์ และมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มรุสมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนในช่วงดังกล่าว

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นและวันสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 14-15 ก.พ. โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายและอุตรดิตถ์ในวันที่ 15 ก.พ. และจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 16 ก.พ. และเกิดลูกเห็บบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 16 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม และอุบลราชธานีในวันที่ 14 ก.พ. ภาคกลาง มีอากาศเย็นในตอนเช้าในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ในวันที่ 15-18 ก.พ. กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะต้นและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 15 ก.พ. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14-15 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 16-18 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณกรุงเทพมหานครและสุราษฎร์ธานี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร นราธิวาส และระนอง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ