พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday February 22, 2023 14:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 23/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 23 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลม

แรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้าและผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 22 - 25 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับสภาพอากาศ      ที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับปริมาณน้ำระเหยที่มีมากในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมและใช้น้ำอย่างประหยัดโดยอาจให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 23 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%ความยาวนานแสงแดด7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี่ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรค    ได้ง่าย รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้             ให้เหมาะสมและใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ
          กลาง ในช่วงวันที่ 22 - 24 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับฝนที่ตก           ไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น      ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมและใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงฤดูร้อน รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตรา        การระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศา
          เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35        กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65% ความยาวนานแสงแดด     6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์  ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรค     ได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นสำรวจพื้นที่เพาะปลูก หากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดเพื่อป้องกันการระบาดเป็นบริเวณกว้าง ระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมและใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเล   มีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 24 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ.           ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้ฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 กุมภาพันธ์ 2566 ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณกรุงเทพมหานครและสุราษฎร์ธานี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง ชุมพร นราธิวาส นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ