พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday February 24, 2023 13:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 24/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 26 ก.พ. - 2 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง รวมทั้งควรระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นถึงหนาว ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็นในตอนเช้า บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย จากสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็นบริเวณยอดภูอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 มี.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาพน้ำเปลี่ยนอีกทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลม

แรง อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 มี.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. ทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 25 ก.พ. - 2 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 2 มี.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.พ. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 มี.ค. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 2 มี.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.พ. และ 1 - 2 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % -ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง รวมทั้งควรระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ 2566 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นช่วง ประกอบกับมีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นช่วง จากนั้นมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้มีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวบางพื้น กับมีรายงานฝนเล็กน้อยในบางวัน สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนตลอดช่วง กับมีลมตะวันออกกำลังอ่อนพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งหลังของช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง ส่วนในตอนกลางมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในบางวัน สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 17, 18, 20 และ 21 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในบางวัน สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นในตอนเช้าเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าตลอดช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคในวันที่ 19 ก.พ. และระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17, 20 และ 21 ก.พ. โดยมีลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 20 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และพังงา สำหรับปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 59.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ