พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday March 1, 2023 15:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 26/2566 พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 ? 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 1-5 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและในบางพื้นที่ยังคงมีความชื้นในอากาศมาก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า ตะวันออก เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวแก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-11 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้อาหารแก่สัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เพราะในช่วงอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อาจทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยน้ำ รักษาความชื้นในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล เช่น โรคราแป้ง โรคใบติด และโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก โดยมีฝนตกหนักในภาคใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำหรับปริมาณฝนมากที่สุดวัดได้ 85.1 มิลลิเมตร ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ