พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday March 8, 2023 13:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 29/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกบางในตอนเช้ากับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 66 บริเวณกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อน ทำให้การสะสมของฝุ่นละอองในอากาศมีมาก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง รวมทั้งไม่เผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้วยังทำให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. จะมีฝนพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วยตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น ไรขาวในพริก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอด และดอก ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

กลาง ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวันเกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอด และดอกของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงในขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวันเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดินหรือกะชังต้องไม่เลี้ยงหนาแน่นจนเกินไป เพราะอากาศที่ร้อนทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย รวมทั้งควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ โดยทำร่มเงาด้วยสแลนบังแดด เพื่อลดความเข้มของแสงที่ตกลงไปถึงกระชังหรือบ่อเลี้ยงโดยตรง นอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำในช่วงกลางวัน เพื่อเพิ่มออกชิเจนในน้ำ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยหรือไฟป่า โดยทำแนวป้องกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะสวนยางพารา เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าพื้นที่การเกษตร PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีฝนตกหนักมาก บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำหรับปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 102.5 มิลลิเมตร ที่อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 3 มีนาคม

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ