พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday March 13, 2023 14:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 31/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14-15 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่16 - 19 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือน ระยะนี้อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 19 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อีกทั้งระยะนี้น้ำระเหยยังคงมีมาก เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนบางพื้นที่ที่มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16 - 19 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟในพริก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบหรือ ยอดอ่อนหงิกงอ ขอบใบหงิกม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเข้าทำลายในระยะออกดอกจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน รวมทั้งให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาสม กลาง ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. เมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 19 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เช่น ฉีดน้ำบริเวณหลังคาหรือ ติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือนเพื่อระบายความร้อน ส่วนระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน ระยะนี้เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 19 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่งทะเล อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของ ไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งอยู่นอกเขตชลประทานหากเกษตรกรต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 -2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % -ระยะนี้บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้ง ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา ควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งานเพื่อป้องกันไฟลุกลาม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และด้วง โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้วงงวงและด้วงแรดมะพร้าว เป็นต้น NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีกำลังแรงขึ้นในวันสุดท้ายของสัปดาห์ กับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันเดียวกัน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานฝนตกหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค จากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดน่านในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 9 มี.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำปาง น่าน กรุงเทพมหานคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ