พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday March 20, 2023 14:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 34/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ตลอดช่วง คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนต่างๆ ของพืช นอกจากนี้ควรระวังอันตรายพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-21 และ 25-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยเฉียงเหนือ ละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 20-21 และ 25-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณแนวชายฝั่งทะเล ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 มี.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง สำหรับในพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันแรกของสัปดาห์กับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนส่วนมากบริเวณภาคเหนือ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 และ 18 มี.ค. โดยมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 15 และ 18 มี.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 16 มี.ค. จังหวัดลำปางในวันที่ 16, 18 และ 19 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 16 มี.ค. จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแพร่ในวันที่ 18 มี.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 18-19 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในวันที่ 15-16 มี.ค. จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 18 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่บริเวณชายฝั่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ และ ลำพูน โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 59.8 มม. ที่ สวนป่าแม้ลี้ อ.ลี้ จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ