พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday March 22, 2023 13:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 35/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันตกปกคลุมภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์ รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาสม ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ลมเหนือ

ตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนสภาพอากาศที่แห้งเกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน อีกทั้งน้ำระเหยยังคงมีมากในระยะนี้ เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 25 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของเฉียงเหนือ พื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง ส่วนในช่วงกลางวันอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันผิวไหม้และร่างกายขาดน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ให้เพียงพอ ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งควรใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เช่น ฉีดน้ำบริเวณหลังคา หรือ ติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือนเพื่อระบายความร้อน ลดอุณหภูมิป้องกันสัตว์เครียด สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณแนวชายฝั่งทะเล ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียน ที่จะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 26 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 27 - 28 มี.ค. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 และ 28 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 27 มี.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % -ระยะนี้บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลาม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และด้วง โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้วงงวงและด้วงแรดในมะพร้าว เป็นต้น NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 มีนาคม 2566 ช่วงที่ผ่านมาภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด เชียงใหม่ และ ลำพูน โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 59.8 มม. ที่ สวนป่าแม่ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 16 มี.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ