พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday January 15, 2024 13:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 7/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางจะมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วนยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 15 - 18 ม.ค. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2

          เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนพัด ปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางตอนบนทำให้ภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และมีอุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลง                   คำเตือน ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. บริเวณภาคเหนือตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และในช่วงวันที่ 15 - 18 ม.ค. บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างจะมีฝน    ตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน   จะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝน      ฟ้าคะนอง และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง สำหรับระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนสภาพอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง    อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกัน    สัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง สภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อาคารบ้านเรือน และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็น  ต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน  ตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอก   ในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.  ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้
          ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้งน้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน อนึ่ง ระยะต่อไปเป็นฤดูหนาวและฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝน       มีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 - 16 ม.ค. โดยมีอากาศเย็น        ในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์          ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและ      เป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น ด้อยคุณภาพ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอก          ในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %  ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้อากาศสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือนตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะสวนยางพารา เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาวและฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 18 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเล     มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %  ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเล      มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่บางพื้นที่

ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่การเกษตร ที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม และไม่ควรนำเครื่องจักรกล หนักเข้าพื้นที่ เพราะจะทำให้ดินแน่นส่งผลกระทบต่อระบบรากพืช อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 8 - 14 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว กับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ อีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านบริเวณดังกล่าวในช่วงปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลงในระยะดังกล่าว

          ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 13 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ในวันที่ 11-13 ม.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรก           ของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 13 ม.ค.  ภาคตะวันออก        มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันที่ 12-13 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 30-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ ในวันที่ 10 วันที่ 13 และวันที่ 14 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน กำแพงเพชร ชัยนาท และสุราษฎร์ธานี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ