พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday January 29, 2024 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13/2567

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุม/ ประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง และอุณหภูมิจะลดลง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 ตอนบนของภาค : อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดยอดมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค : อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นอาจเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเฉียงเหนือ เล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย จากสภาพอากาศที่แห้งและแดดจัดในตอนกลางวัน ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช โดยเลือกใช้วัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน กลาง ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้บริเวณภาคกลางอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ จากสภาพอากาศดังกล่าวเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝัก ในถั่วเหลือง หนอนม้วนใบในถั่วเขียว เป็นต้น เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในช่วงแล้งนี้ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย จากสภาพอากาศที่แห้งและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช โดยเลือกใช้วัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกรอบใหม่ในช่วงแล้งนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและอายุเก็บเกี่ยวสั้น เพื่อลดความเสี่ยงการขาดน้ำของพืชแล้วยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 4 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 22 - 28 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะต้นสัปดาห์ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ และมีรายงานฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้มีฝนตกหนาแน่นทางฝั่งตะวันออกของภาคเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 28 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในวันแรกและระยะปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มี อากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพัทลุงในวันที่ 25-26 ม.ค. และจังหวัดนราธิวาสในวันที่ 25-27 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 25 ม.ค.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร พัทลุง นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย หนองคาย ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ