พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday March 11, 2024 13:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 31/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อน

ลงในช่วงวันที่ 12 - 17 มี.ค. 67 แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม อีกทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับสภาพอากาศที่แห้งควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและงดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว ซางข้าวโพด และ หญ้าแห้ง เพื่อลดปัญหามลพิษฝุ่นขนาดเล็กทางอากาศที่เกิดอยู่ในขณะนี้ สำหรับในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผลควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และมีลมเฉียงเหนือ กระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับช่วงนี้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อีกทั้งระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ อีกทั้งความชื้นในดินยังมีน้อยเกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม สำหรับบางพื้นที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยสร้างที่บังแดดเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง หรือ ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ และมีลม

กระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจและดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งของลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น อีกทั้งระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนของสัตว์น้ำที่มีอยู่ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 12 - 17 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 12 - 17 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในบางพื้นที่ที่มีฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีรายงานฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 8 และ 10 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 6-7 มี.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและระยะปลายสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ในวันที่ 4 วันที่ 7 วันที่ 8 และ วันที่ 9 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 มี.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา ตราด และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ