พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday March 22, 2024 13:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 36/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23 - 25 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในวันที่ 26 - 28 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีลักษณะของฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อน ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 23 - 25 และ 28 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับสภาพอากาศที่แห้งควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและงดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว ซางข้าวโพด และ หญ้าแห้ง เพื่อลดปัญหามลพิษฝุ่นขนาดเล็กทางอากาศที่เกิดอยู่ในขณะนี้ สำหรับช่วงนี้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 25 และ 28 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ลมเฉียงเหนือ ใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ในบางพื้นที่ที่มีฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ กลาง ในช่วงวันที่ 22 - 25 และ 28 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ สำหรับบางพื้นที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยสร้างที่บังแดดเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง หรือ ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 25 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมใต้

ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจและดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งลำต้นของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ใต้ ฝั่งตะวันออกอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนในตอนกลางวัน อีกทั้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ทำให้ความชื้นในดินยังมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 19-20 มี.ค. อีกทั้งคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 เว้นแต่วันที่ 19 มี.ค. มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 19 และวันที่ 21 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ และเพชรบูรณ์ ในวันที่ 18-19 มี.ค. จังหวัดพะเยา กำแพงเพชร และตาก ในวันที่ 19 มี.ค. กับจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 20 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 18 มี.ค. จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 18-19 มี.ค. และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 19 มี.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี และมหาสารคาม ในวันที่ 18 มี.ค. จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 18-19 มี.ค. และจังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 19 มี.ค. อีกทั้งมีรายงานลูกเห็บบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 18 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในวันที่ 17-18 มี.ค. จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 55-60 ของพื้นที่ ในวันที่ 19-20 มี.ค. และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 19 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะต้นช่วงและวันที่ 19-20 มี.ค. โดยมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 20 มี.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 19 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-20 ของพื้นที่ ในวันที่ 16 มี.ค. และในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ ในวันแรกของช่วง

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร เลย นครสวรรค์ และชลบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ