พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday April 17, 2024 14:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 47/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 23 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรดูแลรักษาสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างไม่แข็งแรง ตลอดจนป้ายโฆษณาสูง ขณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. กับมีลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง ส่วนอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน หรือที่สูงกับพื้นราบ เกษตรกรควรระวังและดูแลสุขภาพไว้ด้วย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณโรงเรือน รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ อนึ่ง ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หรือนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ใน

โรงเรือน รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณโรงเรือน รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของ

พื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 19 - 23 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจและดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ส่วนอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช แต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลงปลูก ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค และในช่วงวันที่ 22 - 23 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค และในช่วงวันที่ 22 - 23 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 %

  • สำหรับอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง หากขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน 2567 มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สกลนคร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ