พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday April 29, 2024 15:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 52/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 44 องศาเซลเซียส  ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20   กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรควรดื่มน้ำบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับพืชต้นอ่อน เกษตรกรควรทำที่พรางแสงเพื่อลดความเข้มของแสงและลดความร้อน ป้องกันต้นพืชเหี่ยวเฉา ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมดินเอาไว้ โดยหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่าแปลงปลูกได้สะดวก และควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นในพื้นที่การเกษตร ลดการเกิดโรคจากเชื้อราและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกเกษตรกรควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอก่อนแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้งเพราะอาจได้รับความเสียหายได้ ตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยเฉียงเหนือ ละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 - 44 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40      ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มปริมาณน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์มีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนควรเตรียมดินเอาไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อได้มีเวลาตากดินได้นาน โดยควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจาก    เชื้อรา รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้  สำหรับในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควร ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 3 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 44 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณโรงเรือน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมดินเอาไว้ โดยหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่านแปลงปลูกได้สะดวกในช่วงฤดูฝนเพื่อลดความชื้นในพื้นที่การเกษตร ลดการเกิดโรคจากเชื้อราและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว และควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอก่อนแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับในช่วงวันที่ 4 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค.

มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 43 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % - ระยะนี้มีอากาศร้อน เกษตรกรควรดื่มน้ำบ่อยๆและควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉา การผลิดอกออกผลลดลง ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้ ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 22 - 28 เมษายน 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับมีแนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 24-25 เม.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ อีกทั้งเกิดพายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 23-25 เม.ย. สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์

          ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และพะเยา ในวันที่ 24-25 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดอุดรธานี       บึงกาฬ หนองคาย และชัยภูมิ ในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 24 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ ในวันที่ 25 และวันที่ 27 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยะลา และสงขลาในระยะต้นและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 23 และวันที่ 26 เม.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15    ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 24 และ วันที่ 28 เม.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาคใต้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา พังงา ตรัง และสตูล โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 70.0 มม. ที่ อ.เมือง จ.สตูล เมื่อวันที่ 28 เม.ย.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ