พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday May 10, 2024 13:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 57/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น รวมถึงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง

สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก คำเตือน ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนชอนใบส้มในพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ค. มีฝนเฉียงเหนือ ฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชตามฤดูกาล ควรรอให้ปริมาณและการกระจายของฝนตกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอแล้วจึงเริ่มลงมือปลูก

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว

15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นช่วง ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 6-8 พ.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝน และอุณหภูมิลดลงจากช่วงที่ผ่านมา แต่ยังคงมีอากาศร้อนทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีรายงานพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง สำหรับภาคใต้อิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง กับมีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันในระยะต้นและกลางช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝน และมีฝนหนักมากในบางพื้นที่

ภาคเหนือมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7 และ 9 พ.ค. มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ เพชรบูรณ์ ลำปาง น่าน สุโขทัย เชียงราย กำแพงเพชร ลำพูน พิจิตร ตาก ในช่วงวันที่ 3-8 พ.ค. กับมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์และแพร่ ในวันที่ 3 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำพูน ในวันที่ 7 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 6 พ.ค. มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ กับมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม มหาสารคาม สกลนคร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และยโสธร ในช่วงวันที่ 3-6 พ.ค. กับมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น และเลยในวันที่ 3-4 พ.ค.ภาคกลางมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 และวันที่ 7 พ.ค. และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี และลพบุรี ในช่วงวันที่ 3-6 พ.ค. ภาคตะวันออกมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7 และวันที่ 9 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 6 วันที่ 7 และวันที่ 9 พ.ค. และมีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 7 พ.ค. อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 7 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชุมพร สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช และเพชรบุรี ในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 6 วันที่ 7 และวันที่ 9 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

          ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง         ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร        เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์     สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี นครนายก สระแก้ว จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา ระนอง พังงา ตรัง และสตูล



ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ