พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 4 - 10 มิถุนายน 2553

ข่าวทั่วไป Friday June 4, 2010 15:08 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มิถุนายน 2553 - 10 มิถุนายน 2553

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. จะเกิดฝนตกหนัก เกษตรกรบริเวณที่ราบเชิงเขาควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วม ส่วนลำไยที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวอาจเกิดผลแตกและเชื้อราเข้าทำลายได้ ชาวสวนควรปลิดผลที่แตกและเน่าทิ้ง เพื่อไม่ให้ก่อเชื้อโรคลุกลามไปยังผลอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ระยะนี้สภาพอากาศชื้น อาจมีโรคพืชจากเชื้อราแพร่ระบาดในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และโรคใบจุด เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจสอบและป้องกันกำจัดโรคดังกล่าว

ภาคกลาง

นช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ และปรับปรุงโรงเรือนไม่ให้ฝนสาดเข้าไปได้ ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชไร่หรือพืชผักในระยะนี้ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ไม้ผลที่เก็บผลผลิตเสร็จแล้ว ชาวสวนควรเก็บผลที่ร่วงหล่นไปทำลาย รวมทั้งตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และทารอยแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับเกษตรกรบริเวณนอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนมากทางตอนบนของภาคตลอดช่วง อุณหภูมิ ต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 4-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ฝนที่ตกชุกในระยะนี้เป็นอุปสรรคต่อการตากผลผลิตของกาแฟและผลิตภัณฑ์จากทะเล ส่วนชาวไร่ควรปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้ใช้งานได้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ