ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 05 กรกฎาคม 2553 - 11 กรกฎาคม 2553
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งมีฝนตกสม่ำเสมอดีแล้วและดินมีความชื้นเพียงพอ ก่อนปลูกพืชควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรหมั่นสำรวจหากพบผลที่โรคหรือศัตรูพืชทำลายควรรีบกำจัดก่อนแพร่กระจาย โดยเฉพาะโรคพืชจำพวกเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรตรวจซ่อมแซมโรงเรือนให้มิดชิด เพื่อป้องกันฝนสาด รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มแล้วรีบรักษา นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังสุขอนามัยและหากจำเป็นต้องทำงานในที่ชื้นแฉะควรสวมถุงมือและรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 5 — 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจายส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 9 — 11 ก .ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย สำหรับพื้นที่การเกษตรในบริเวณที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งซ่อมแซมอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้ใช้การได้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงขึ้น และดูแลภายในโรงเรือนอย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วชาวสวนควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผลเพื่อให้ต้นพักตัวได้นานขึ้น แล้วทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันเชื้อรา สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สัตว์น้ำที่ปรับตัวไม่ทัน จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจายตลอดช่วง ส่วนฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ชาวสวนยางพาราในภาคใต้ฝั่งตะวันตกควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ควรลดความชื้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบกำจัดโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74