พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 10 - 16 กันยายน 2553

ข่าวทั่วไป Friday September 10, 2010 14:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 กันยายน 2553 - 16 กันยายน 2553

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระมัดระวังอันตรายจากสภาวะ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่อาจเกิดขึ้น สำหรับสวนผลไม้ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ชาวสวนควรรีบสูบน้ำออก ช่วยเติมอากาศลงสู่ดินเพื่อให้รากพืชสามารถหายใจได้ ต้นไม้จะฟื้นตัว เร็วขึ้น รวมทั้งป้องกันกำจัดศัตรูพืชภายหลังน้ำลด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ส่วนข้าวนาปีที่กำลังเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวแห้งตาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 14-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่อาจเกิดขึ้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังความเสียหายเนื่องจากคุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำเครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 14-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และผักชนิดต่างๆควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งระบาดในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจายตลอดช่วง ส่วนฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ชาวสวนไม่ควรกองสุมเปลือก และผลที่เน่าเสีย ตลอดจนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในบริเวณสวน แต่ควรกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของศัตรูพืช สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา อนึ่ง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ