พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 6 - 12 ตุลาคม 2553

ข่าวทั่วไป Wednesday October 6, 2010 14:33 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 ตุลาคม 2553 - 12 ตุลาคม 2553

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค เกือบตลอดช่วง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนที่ตกในระยะนี้ เพื่อไว้ใช้ในช่วงแล้ง และเนื่องจากอยู่ในระยะใกล้เข้าสู่ฤดูหนาวควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนที่ตกในระยะนี้ เพื่อไว้ใช้ในช่วงแล้ง และเนื่องจากอยู่ในระยะใกล้เข้าสู่ฤดูหนาวควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6 - 9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึง กระจาย มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากฝนตกหนัก อนึ่งช่วงนี้ขอให้ระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้ถูกสุขลักษณะ อย่าปล่อยให้พื้นคอกชื้นแฉะเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม ชาวสวนควรเตรียมระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังที่จะก่อให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกือบตลอดช่วง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาและใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลควรระวังและป้องกันผลกระทบจากฝนตกชุก อนึ่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองอาจมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออกแล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ