บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
(RATCH) เป็น “AA” จากเดิมที่ระดับ “AA-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงฐานะการเงิน
ของบริษัทที่แข็งแกร่งขึ้นและการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น อันดับเครดิตดังกล่าวยังสะท้อนถึงสถานะผู้นำจาก
การเป็นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ตลอดจนรายได้เงินปันผลที่มากพอและสม่ำเสมอจากการลงทุนในโครงการ
โรงไฟฟ้าต่าง ๆ และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการพิจารณาอันดับเครดิตยังคำนึง
ถึงความแข็งแกร่งของงบดุลและแผนขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าและโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศไทย
และต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวมีข้อจำกัดจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ใน
ขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะมีรายได้เงินปันผลที่แน่นอนจากการลง
ทุนในโรงไฟฟ้าและโครงการที่มีสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังคาดว่าบริษัทจะยังคงดำรงนโยบายการลงทุนแบบระมัดระวังใน
การตัดสินใจลงทุนตามแผนการเติบโตของบริษัทด้วย
ในวันเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RATCHGEN) ที่ ระดับ “AA” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” ด้วย โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แน่นอนจากการมีสัญญาขาย ไฟฟ้า (Power Purchase Agreement -- PPA) ระยะยาวกับ กฟผ. ตลอดจนการมีโรงไฟฟ้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานแข็งแกร่ง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งประสบการณ์ที่ยาวนานและผลงานในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับ การพิจารณาอันดับ เครดิตยังคำนึงถึงระดับการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ลดลงของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัทจากการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทเพียงเล็กน้อย ส่วนแนวโน้มอันดับ เครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่แน่นอน จากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี นอกจากนี้ ยังคาดว่าโรงไฟฟ้าย่อยต่าง ๆ จะยังคงดำรงความพร้อมจ่ายและผลการ ดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ต่อไป
ทริสเรทติ้งรายงานว่า RATCH เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าซึ่งก่อตั้งในปี 2543 เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าราชบุรี จาก กฟผ. โดยในปีเดียวกันบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ เดือนธันวาคม 2553 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของ RATCH ยังคงเป็น กฟผ. ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 45% นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้วรวม กำลังการผลิต 4,347 เมกะวัตต์ คิดเป็น 14% ของกำลังการผลิตติดตั้งของประเทศ ส่งผลให้บริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนราย ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ เดือนธันวาคม 2553 บริษัทมีการลงทุนในโรงไฟฟ้าทั้งหมด 11 โครงการ มีกำลังการผลิตรวมตามสัด ส่วนการถือหุ้นของบริษัท 5,531 เมกะวัตต์ โดย 4 โครงการ (4,347 เมกะวัตต์) ได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าแล้ว ในขณะที่อีก 7 โครงการ (1,184 เมกะวัตต์) อยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนา โดยทุกโครงการมีสัญญา PPA ระยะยาวกับ กฟผ. ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีผ่านมา RATCH มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย เฉลี่ย 10,000 ล้านบาทต่อปีและได้รับเงินปันผลเฉลี่ย 6,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2553 บริษัทมีรายได้ เงินปันผลจำนวน 3,755 ล้านบาทจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหลายแห่ง โดยเงินปันผลจาก RATCHGEN คิดเป็นสัดส่วน 77% ของ รายได้เงินปันผลรวมของบริษัท บริษัทพึ่งพิงรายได้เงินปันผลจาก RATCHGEN น้อยลงจากในอดีตซึ่งสูงถึงกว่า 90% หลังจากที่ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด (RPCL) เริ่มจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553
RATCH ดำเนินนโยบายการบริหารธุรกิจแบบระมัดระวัง โรงไฟฟ้า 7 โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนา รวม 1,184 เมกะวัตต์ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำจำนวน 401 เมกะวัตต์และโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์จำนวน 751 เมกะวัตต์ในประเทศลาว ส่วนที่เหลืออีก 32 เมกะวัตต์เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในประเทศไทย โครงการโรง ไฟฟ้าทั้งหมดที่บริษัทลงทุนมีสัญญา PPA ระยะยาวกับ กฟผ. ภายใต้แผนการลงทุนนี้บริษัทจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 26.2% เป็น 5,486 เมกะวัตต์ในปี 2559 จาก 4,347 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน บริษัทมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็ง แรงด้วยอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนที่ 30.2% ณ เดือนกันยายน 2553 บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนระหว่างปี 2554- 2557 รวมประมาณ 20,000 ล้านบาท ด้วยรายได้เงินปันผลในระดับ4,000-5,000 ล้านบาทต่อปีและเงินสดในมือซึ่งรวมเงินลง ทุนระยะสั้นทั้งหมดอีก 10,465 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2553 ทำให้บริษัทมีศักยภาพในการลงทุนตามแผนโดยใช้กระแสเงินสด จากการดำเนินงานเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจต้องใช้แหล่งเงินทุนจากภายนอกเพิ่มเติมสำหรับการซื้อกิจการขนาดใหญ่ หรือการลงทุนอื่นที่นอกเหนือจากโครงการในปัจจุบัน
สำหรับ RATCHGEN นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย RATCH ซึ่ง RATCH เป็นบริษัทที่ถือหุ้น 45% โดย กฟผ. RATCHGEN เป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (Independent Power Producer -- IPP) รายใหญ่ที่สุดใน ประเทศ โรงไฟฟ้าราชบุรีของบริษัทประกอบด้วยหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังความร้อน 2 หน่วยและหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CCGT) 3 หน่วย คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 12% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ ประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2553 ปัจจุบันบริษัทขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ภายใต้สัญญา PPA ระยะเวลา 25 ปี และซื้อก๊าซ ธรรมชาติจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sales Agreement -- GSA) ระยะ เวลา 25 ปี
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในโรงไฟฟ้าราชบุรียังคงดำเนินงานดีกว่าเป้าหมาย โดยสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยที่ระดับ 88.8% และอัตราความร้อนในการผลิตไฟฟ้าที่ระดับ 7,206 บีทียูต่อหน่วย (BTU/kWh) ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายให้อยู่ในระดับสูงที่ 94.8% ด้วยอัตราความร้อนที่ 10,089 บีทียูต่อหน่วย ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ส่งผลให้ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าสุทธิใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้น 41.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 12,646 ล้านหน่วย (GWh) อย่างไรก็ตาม ระดับการจ่ายไฟฟ้าของหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 39.2% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ซึ่งเป็นผลมาจากการมีโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เข้ามาในระบบในระหว่างปี 2552-2553 ทั้งนี้ ระดับการจ่ายไฟฟ้าที่ลดลงมิได้ส่ง ผลกระทบต่อกำไรสุทธิของบริษัทเนื่องจากกำไรสุทธิส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment — AP)
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 RATCHGEN มีรายได้จากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 20.5% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 32,338 ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิลดลง 33.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหลือ 2,953 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการที่รายได้ค่า AP ลดลงตามที่กำหนดไว้ใน PPA และต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้นหลังครบ กำหนดการยกเว้นภาษีของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 บริษัทมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายที่แข็งแรงจำนวน 6,457 ล้านบาท อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 12.7 เท่าจาก 11.1 เท่าในปี 2552 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความสำเร็จในการ เจรจาลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 ในขณะที่อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ที่ไม่รวมส่วนเปลี่ยนแปลงของบัญชีเงินสำรอง เพื่อการชำระหนี้และเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในระดับดีที่ 2.1 เท่า ณ เดือนกันยายน 2553 — จบ
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH)
อันดับเครดิตองค์กร: เพิ่มเป็น AA จาก AA-
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable