ไต้หวันจับมือรัฐบาลไทยร่วมแบ่งปันนวัตกรรมด้านการแพทย์ต่อเนื่อง หวังยกระดับความก้าวหน้าอุตสาหกรรมทางการแพทย์อย่างยั่งยืน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 17, 2019 17:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไต้หวันจับมือรัฐบาลไทย แบ่งปันความรู้และนวัตกรรมด้านการแพทย์ ร่วมผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หวังยกระดับอุตสาหกรรมทางการแพทย์อย่างยั่งยืน ล่าสุดนำ 16 บริษัทเอกชนชั้นนำจากไต้หวันจัดแสดงอุปกรณ์การแพทย์นานาชาติและการประชุมวิชาการ พร้อมงานเสวนาด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพอัจฉริยะของไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมทางการแพทย์ทีทันสมัยเช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์พกพา กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ แว่นตาสำหรับผ่าตัดกระดูก และคลังข้อมูลระบบคลาวด์ เป็นต้น นายเฉิน มู่ ควน ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน เปิดเผยว่าโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนและสมาคมคอมพิวเตอร์ไทเป ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thailand Industry, FTI) จัดงานแสดงอุปกรณ์การแพทย์นานาชาติและการประชุมวิชาการทางการแพทย์ประจำปี 2562 (Medical Devices ASEAN 2019) ในวันที่ 10 – 12 ก.ค. ในงานได้นำผู้ประกอบการการรักษาด้านระบบอัจฉริยะระดับคุณภาพจากไต้หวัน 16 ราย จัดแสดงเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพจากไต้หวัน (Taiwan Smart Healthcare Pavilion) ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้เพื่อตอบรับความหลากหลายในความต้องการทางการแพทย์ และการรักษาสุขภาพของไทยและอาเซียน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการรักษาที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สำหรับการจัดงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thailand Industry, FTI) ที่มุ่งเน้นผลักดันนโยบายไทยแลนด์4.0 และนโยบายโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการร่วมมือกับนโยบายมุ่งสู่ใต้ของรัฐบาลไต้หวันในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสานต่อด้านการยกระดับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ให้ยั่งยืน โดยการแบ่งปันแนวทางพัฒนาการร่วมมือ และโอกาสในการทำสัญญา ผ่านงานเสวนา "นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้การดูแลสุขภาพด้วยระบบอัจฉริยะของไต้หวัน" (The Innovation & Application of Smart Healthcare in Taiwan) ที่เวทีกิจกรรมหลักโซนจัดแสดงอุปกรณ์การรักษาอาเซียน ซึ่งดึงดูดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการรักษาในไทยและประเทศอื่นๆในอาเซียนร้อยกว่าคนให้เข้าร่วม โดยภายในงานได้มีการพูดคุย และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างคึกคัก ซึ่งเป็นงานเสวนาหลักของงานและเน้นแบ่งปันประสบการณ์ทางการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะซึ่งยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเป็นหลัก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานเสวนาครั้งนี้จะมีส่วนช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ในด้านการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะของระหว่างทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการทั้ง 16 รายที่เข้าร่วมซุ้มจัดแสดงเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพจากไต้หวันต่างเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิในด้านนี้ มี 11 รายนำโดยโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน ได้แก่ บริษัทImedtac บริษัทeplus บริษัทK2 Medical (Thailand) บริษัทbionime บริษัทLonggood บริษัทEUE Tech บริษัทTaiwan Main Orthopaedic Biotechnology บริษัทBenQ Medical Technology บริษัทQSCC บริษัทMedimaging Integrated Solution และบริษัทBeautycom Biotechnology และ 5 ราย นำโดยสมาคมคอมพิวเตอร์ไทเป ได้แก่ บริษัทLeadtek บริษัทThinkCloud บริษัทLIPS บริษัทHuijia Health และบริษัทSeteria หลังจากงานเสวนาสิ้นสุดลง ก็ได้ไปซุ้มจัดแสดงเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพจากไต้หวันพร้อมกับแขกผู้เข้าร่วมเสวนา เพื่อสัมผัสประสบการณ์กับสินค้าพิเศษต่างๆ อาทิเช่น เครื่องอัลตราซาวด์แบบพกพา กระดาษอิเลคทรอนิกส์ หรือ e-paper เทคโนโลยีการแสดงผลที่เลียนแบบลักษณะการใช้หมึกบนกระดาษปกติ แว่นตาทางการแพทย์สำหรับการผ่าตัดกระดูก ระบบกายภาพอัจฉริยะแบบคลังข้อมูลคลาวด์ และเครื่องตรวจอัจฉริยะที่สามารถตรวจได้ทั้งตา หู ช่องปาก และผิวหนัง ฯลฯ นายถงเจิ้นหยวน ผู้แทนรัฐบาล สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยได้กล่าวว่า "นโยบายมุ่งสู่ใต้ของไต้หวันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและไต้หวันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านความร่วมมือในด้านต่างๆ โดยสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปในประเทศไทยได้จัดทำแอคเคาท์ LINE ไว้หลายแอคเคาท์ด้วยกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ" ไต้หวันเป็นผู้นำด้านการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะ หน่วยงานทางการแพทย์ระดับสูงต่างๆ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลโรงพยาบาลอาร์เอสยูอินเตอร์เนชั่นแนล และโรงพยาบาลหัวเฉียว ฯลฯ ต่างได้เคยเข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน และผู้ประกอบการการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะจากไต้หวัน อีกทั้งยกย่องการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะของไต้หวันเป็นอย่างมากอีกด้วย การรักษาด้วยระบบอัจฉริยะเป็นยุทธศาสตร์ และเป้าหมายหลักในนโยบายทางการแพทย์ของไทยในอนาคต ประสบการณ์ในการพัฒนาการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะของไต้หวันคุ้มค่าที่ไทยจะดูงานและศึกษา ในอนาคตทางไต้หวันก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ และนำสินค้าพร้อมเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นยอดมาสู่ประเทศไทย ผลักดันให้การรักษาด้วยระบบอัจฉริยะของไทยปฏิรูปได้เร็วยิ่งขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ