ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์... เติบโตท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 23, 2017 15:01 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สถานการณ์ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์ในปัจจุบัน

บริการโรงภาพยนตร์เป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการด้านนันทนาการซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของไทยการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ยังคงเป็นกิจกรรมอันดับต้นๆที่ผู้บริโภคคนไทยเลือกเป็นกิจกรรมสันทนาการหากต้องการผ่อนคลายจากการดำเนินชีวิตประจำวันและยังเป็นกิจกรรมที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายอีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเข้าชมภาพยนตร์ที่ไม่สูงนักส่งผลให้ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์ยังเป็นธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้คงเส้นคงวา แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยมากนักขณะเดียวกันท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจดังกล่าวก็ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่พยายามปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการที่สะดวกสบายและรวดเร็วเพื่อให้ทันสมัยมากขึ้นและตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค นอกจากนั้น ยังได้นำกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆมาใช้เพื่อขยายและรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนเอง

ปัจจุบัน กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจโรงภาพยนตร์ในไทยสำคัญ ประกอบด้วย

1. บริษัทเมเจอร์ ซีนิเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (Major Cineplex Co., LTD) ถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาดประเทศไทย ภายหลังจากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทเมเจอร์ซีนิเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อ พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึงร้อยละ 80 ปัจจุบันกลุ่มบริษัทดังกล่าวมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 91 สาขาภายใต้เครื่องหมายการค้า "Major Cineplex", "EGV", "Paragon Cineplex" และ "Esplanade Cineplex" และมีจำนวนโรงภาพยนตร์ทั้งสิ้น 601 โรง

2. บริษัท เอส เอฟ ซีนีม่า ซิตี้ จำกัด (SF Cinema Co., LTD) เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับ 2 รองจากบริษัทเมเจอร์ ซีนิเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 15 ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออกและได้ขยายการลงทุนเข้ามาในเขตกรุงเทพมหานครโดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนเมษายน 2542 และให้บริการที่สาขามาบุญครองเป็นสาขาแรก ปัจจุบันกลุ่มนี้มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 10 สาขา ภายใต้เครื่องหมายการค้า "SF Cinema City", "SFX" และ "SF World Cinema" และมีจำนวนโรงภาพยนตร์ทั้งสิ้น 90 โรงภาพยนตร์

3 กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจโรงภาพยนตร์อีกหลายราย เช่น กลุ่มเมเจอร์ฮอลลีวู้ด และกลุ่ม UMG ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันร้อยละ 5

จากสถิติข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของไทยของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ปรากฏว่า มูลค่ารายได้ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเฉลี่ยในช่วงปี 2554 - 2558 อยู่ที่ 24,957.29 ล้านบาทและในปี 2558 รายได้จากอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่ที่ 24,794 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ระดับกลางมากขึ้นแต่อาทิ การขายบัตรชมภาพยนตร์ในรูปแบบ Gift Vouchers การดึงดูดผู้ชมภาพยนตร์เป็นกลุ่มใหญ่การรับสมัครบัตรสมาชิกที่มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ชมภาพยนตร์เฉพาะกลุ่ม เช่น นักเรียน นักศึกษา การมอบส่วนลดในการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในบางวันของแต่ละสัปดาห์

กฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์

1) พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (ประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551)

          กฎหมาย/กฎระเบียบ                               สาระสำคัญ
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และ                     - มาตรา 25 : ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย
วีดิทัศน์ พ.ศ. 2551                          ในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจาก

คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และออกเลขรหัส ก่อนนำ

ออกเผยแพร่และจำหน่าย โดยเฉพาะภาพยนตร์จะกำหนดจัดประเภทของ

ภาพยนตร์ (Rating)

  • มาตรา 26 : การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ให้

คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์กำหนดด้วยว่า ภาพยนตร์

ดังกล่าวจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด ซึ่งมีทั้งหมด 7 ประเภทคือ (1)

ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู (ส ส่งเสริม) (2)

ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป (ท ทั่วไป) (3) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้

มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไป (น 13+) (4) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุ

ตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป (น 15+) (5) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบ

แปดปีขึ้นไป (น 18+) (6) ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดู (ฉ 20-) ซึ่ง

การจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) ในเรท 13+-เรท 18+ เป็นภาพยนตร์

เรทแนะนำเด็กที่มีอายุตามที่กำหนดคือ อายุตั้งแต่สิบสามปี สิบห้าปี สิบแปดปี

ไม่ควรดูภาพยนตร์เพียงลำพัง ควรมีผู้ปกครองให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

ภาพยนตร์ที่ห้ามต่ำกว่ายี่สิบปีดูเป็นภาพยนตร์ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม

จึงไม่เหมาะให้เด็กดู เพราะเด็กจะซึมซับแบบอย่างที่ไม่ดี ทำให้เกิดการ

เลียนแบบพฤติกรรมที่ผิดๆไปเพราะนึกว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ (7) ภาพยนตร์

ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรหมายถึงภาพยนตร์ที่ไม่อนุญาตให้นำออกฉาย ให้

เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร

  • มาตรา 31 : ให้นายทะเบียนกลางกำหนดหมายเลขรหัสและประทับตรา

เครื่องหมายการอนุญาต ประเภทของภาพยนตร์ และหมายเลขรหัสลงบน

ภาพยนตร์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตตามมาตรา 25

  • มาตรา 37 : ห้ามผู้ใดประกอบกิจการโรงภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือ

ได้รับประโยชน์ตอบแทนเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

  • มาตรา 38 ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย

ภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนเว้นแต่ได้รับ

ใบอนุญาตจากนายทะเบียนใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับสถานที่ให้เช่า

แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละแห่ง) จะมีไว้ในสถานที่ประกอบ

กิจการของตนเพื่อนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายจะต้องเป็น

ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ที่ผ่านการตรวจพิจารณา

และได้รับอนุญาตตามมาตรา 25 และมีการแสดงเครื่องหมายการอนุญาต

ประเภทของภาพยนตร์และหมายเลขรหัส

  • มาตรา 44 : ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งประเภทของภาพยนตร์ที่นำออกฉาย

แต่ละเรื่องไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ชัดเจนในบริเวณโรงภาพยนตร์และห้าม

ผู้รับใบอนุญาตยินยอมหรือละเลยให้ผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่าที่กำหนดตามมาตรา

26 (6) เข้าไปในโรงภาพยนตร์ในระหว่างที่ทำการฉายภาพยนตร์ที่จัดอยู่ใน

ประเภทดังกล่าว มาตรา 45 ห้ามผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 38 ให้เช่า

แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทตามมาตรา 26 (6)

ให้แก่ผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่าที่กำหนดไว้สำหรับภาพยนตร์ประเภทดังกล่าวและ

มาตรา 46 การฉายภาพยนตร์ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปสามารถดูได้ ต้องเป็น

ภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทตามมาตรา 26 (1) หรือ (2)

อย่างไรก็ตามหากภาพยนตร์ที่ไม่มีหมายเลขรหัสที่แสดงบนภาพยนตร์นั้นๆเป็นภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้รับการตรวจพิจารณาการจัดประเภทของภาพยนตร์ (Rating) จากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และโรงภาพยนตร์ใดนำภาพยนตร์ที่ไม่ได้มีหมายเลขรหัสออกฉายและเผยแพร่ก็จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย ดังนั้นการนำภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่ต้องมีการตรวจสอบหมายเลขรหัสที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกครั้ง หากพบว่ามีการนำภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ออกฉายให้เช่าหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร

ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ถือว่าฝ่าฝืนมีโทษอาญามาตรา 77 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและเกียรติภูมิของประเทศไทย) หรือนาภาพยนตร์ตามมาตรา 26 (7) ออกเผยแพร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคสอง มาตรา 34 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดส่งภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในราชอาณาจักรออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์) ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และมาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 วรรคหนึ่ง หรือประกอบกิจการดังกล่าวในระหว่างถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

2) กฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ. 2552

          กฎหมาย/กฎระเบียบ                               สาระสำคัญ
กฎกระทรวงว่าด้วยการขอและ                    ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการโรงภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับ
การออกใบอนุญาตประกอบ                       ประโยชน์ตอบแทนจะต้องได้รับอนุญาตประกอบกิจการจากนายทะเบียน
กิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ. 2552                 การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบด้วย

1. บุคคลธรรมดา : เอกสารประกอบในการขอใบอนุญาต ประกอบด้วย

1.1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีสัญชาติไทย

หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทางพร้อม

ด้วยสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือหลักฐานการได้รับอนุญาต

ให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นคนต่างด้าว

1.2) สำเนาใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพตาม

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในกรณีที่โรงภาพยนตร์เป็นอาคารหรือ

ส่วนใดของอาคาร

1.3) แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งสถานประกอบกิจการตาม รวมทั้งรูป

ถ่ายของสถานประกอบกิจการนั้น

2. นิติบุคคล : เอกสารประกอบในการขอใบอนุญาต ประกอบด้วย

2.1) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการ

เกี่ยวกับชื่อวัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน และรายชื่อผู้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ

หรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบัน

2.2) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลของกรรมการ

ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

2.3) สำเนาใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพตาม

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในกรณีที่โรงภาพยนตร์เป็นอาคารหรือ

ส่วนใดของอาคาร

หลังจากมีการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ต่อนายทะเบียนแล้วนายทะเบียนจะพิจารณาคำขอและมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานดังกล่าวหากไม่อนุญาตนายทะเบียนก็จะแสดงเหตุผลไว้ในคำขอด้วยเมื่อนายทะเบียนแจ้งการอนุญาตและผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์แล้วนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ตามแบบที่นายทะเบียนกลางกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทั้งนี้ การยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตได้ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม และในเขตจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

ข้อสังเกต/ข้อคิดเห็น

ธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์ของไทยเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการเข้ามาแข่งขันน้อยราย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยเงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยมีผู้ประกอบการหลักรายใหญ่ในตลาดเพียงกลุ่มของ Major Cineplex และ SF Cinema ซึ่งทั้งสองกลุ่มต่างก็มีการปรับปรุงและสร้างความแตกต่างในโรงภาพยนตร์ของตนให้มีความโดดเด่นเหนือกว่าของคู่แข่ง ทั้งในแง่ภาพลักษณ์ที่ดูหรูหราทันสมัยของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกของโรงภาพยนตร์ และความทันสมัยของระบบเทคโนโลยีด้านภาพและเสียงเพื่อเป็นจุดขายและดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาชมภาพยนตร์ รวมทั้งการวางกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นทำเลที่ตั้งสาขาให้อยู่ในแหล่งชุมชนใจกลางเมืองซึ่งเป็นแหล่งรวมของย่านธุรกิจ สถานศึกษา และสถานบันเทิงต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในเขตพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงให้ได้มากที่สุด

ปัจจุบันผู้ประกอบการต่างให้ความสนใจในการเข้ามาเปิดโรงภาพยนตร์ในห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) มากขึ้นแทนที่จะเปิดสาขาในรูปแบบ Stand Alone ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการายใหญ่ได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดทั้งในแง่ต้นทุนการสร้างโรงภาพยนตร์ที่สูงมาก รวมทั้งการที่กำหนดให้ซื้อโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ที่บริหารโดยค่ายโรงหนังใหญ่นอกจากธุรกิจบริการโรงภาพยนตร์จะเป็นแหล่งนันทนาการของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วยังช่วยส่งเสริมและสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจรายย่อยผ่านการให้เช่าพื้นที่การค้าจึงนับเป็นช่วยกระจายรายได้อีกทางหนึ่งให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าว

สำนักการค้าบริการและการลงทุน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

มีนาคม 2560

เอกสารอ้างอิง

1. สถิติข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2558 จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาตร์

2. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2521 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

3. หลักการการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ สำนักจดทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ