กรุงเทพโพลล์: คนกรุงคิดอย่างไรกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของกลุ่ม กปปส.

ข่าวผลสำรวจ Tuesday January 7, 2014 08:59 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเทพฯ กว่า 60% กังวลมากต่อสถานการณ์บ้านเมืองหากปิดพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเรื่องการจราจรจะส่งผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลที่มาจากคนกลางปฏิรูปบ้านเมืองก่อนการเลือกตั้ง และไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนกรุงคิดอย่างไรกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของกลุ่ม กปปส.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,021 คนพบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.4 กังวลมากถึงมากที่สุดต่อสถานการณ์บ้านเมือง หากกลุ่ม กปปส. ปิดพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะที่ร้อยละ 39.6 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด

ส่วนความเห็นต่อเรื่องที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดหากปิดพื้นที่กรุงเทพฯ คือ การจราจรและการเดินทาง

(ร้อยละ 37.3) รองลงมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว (ร้อยละ 22.5) และการปะทะกันของผู้ชุมนุม กลุ่ม กปปส. กลุ่ม นปช. เจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิต (ร้อยละ 19.3) ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะช่วยลดเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการปิดพื้นที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 เห็นว่าช่วยไม่ได้ มีเพียงร้อยละ 14.8 ที่เห็นว่าช่วยได้ และร้อยละ 35.0 ไม่แน่ใจ

สำหรับความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “การลาออกจากการเป็นนายกฯ ของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด” ร้อยละ 45.0 เชื่อว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ขณะที่ร้อยละ 38.9 เชื่อว่าช่วยได้มาก และร้อยละ16.1 เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าเดิม และเมื่อถามต่อว่า “หากยังมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. สถานการณ์ทางการเมืองไทยหลังจากการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร” ร้อยละ 44.4 เห็นว่าไม่แตกต่างไปจากปัจจุบัน รองลงมาร้อยละ 25.5 เห็นว่าจะแย่ลงกว่าปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 14.4 ที่เห็นว่าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่เหลือร้อยละ 15.7 ยังไม่แน่ใจ

ด้านความเห็นในเรื่องการปฏิรูป ส่วนใหญ่ร้อยละ 41.7 อยากให้ปฏิรูปก่อนในประเด็นหลักๆ ให้แล้วเสร็จใน 1 ปี แล้วค่อยจัดการเลือกตั้ง ในจำนวนนี้ร้อยละ 34.2 อยากได้รัฐบาลที่มาจากคนกลางมาบริหารประเทศไปพลางๆ ก่อน และร้อยละ 7.5 อยากได้รัฐบาลรักษาการของนางสาวยิ่งลักษณ์ ขณะที่ร้อยละ 27.3 อยากให้เลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปฏิรูปในประเด็นหลักๆ ให้แล้วเสร็จตามเวลาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน ทั้งนี้ร้อยละ 14.4 ยังไม่เห็นรูปแบบการปฏิรูปที่เหมาะสมในตอนนี้ และร้อยละ 16.6 ที่ยังไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงจนถึงที่สุด ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการรัฐประหารของทหาร” ร้อยละ 42.1 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 38.5 เห็นด้วย และร้อยละ19.4 ยังไม่แน่ใจ

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมือง หากกลุ่ม กปปส. ปิดพื้นที่กรุงเทพฯ
          มากถึงมากที่สุด                                                    ร้อยละ          60.4

(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 24.2 และมากร้อยละ 36.2)

          น้อยถึงน้อยที่สุด                                                    ร้อยละ          39.6

(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 24.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 14.9)

2. ความเห็นต่อเรื่องที่จะส่งผลกระทบมากที่สุด หากปิดพื้นที่กรุงเทพฯ
          การจราจรและการเดินทาง                                           ร้อยละ          37.3
          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว                           ร้อยละ          22.5

การปะทะกันของผู้ชุมนุม กลุ่ม กปปส. กลุ่ม นปช.

          เจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิต                                ร้อยละ          19.3
          การขาดรายได้ ที่จะเลี้ยงชีพ                                          ร้อยละ          11.7
          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                       ร้อยละ           6.7
          เกิดการปฏิวัติ                                                     ร้อยละ           2.5

3. ความเห็นต่อการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะช่วยลดเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการปิดพื้นที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่
          เห็นว่าได้                                                        ร้อยละ          14.8
          เห็นว่าไม่ได้                                                      ร้อยละ          50.2
          ไม่แน่ใจ                                                         ร้อยละ          35.0

4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “การลาออกจากการเป็นนายกฯ ของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด”
          เชื่อว่าช่วยได้มาก                                                  ร้อยละ          38.9
          เชื่อว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง                                          ร้อยละ          45.0
          เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าเดิม                                              ร้อยละ          16.1

5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากยังมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. สถานการณ์ทางการเมืองไทยหลังจากการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร”
          ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน                                                    ร้อยละ          14.4
          ไม่แตกต่างจากปัจจุบัน                                               ร้อยละ          44.4
          แย่ลงกว่าปัจจุบัน                                                   ร้อยละ          25.5
          ไม่แน่ใจ                                                         ร้อยละ          15.7

6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูปรูปแบบใดต่อไปนี้ ”
          ปฏิรูปก่อนในประเด็นหลักๆ ให้แล้วเสร็จใน 1 ปี แล้วค่อยจัดการเลือกตั้ง          ร้อยละ          41.7
          โดย รัฐบาลที่มาจากคนกลาง                                          ร้อยละ          34.2
          รัฐบาลรักษาการของนางสาวยิ่งลักษณ์                                    ร้อยละ           7.5
          เลือกตั้งก่อนแล้วปฏิรูปในประเด็นหลักๆ ให้แล้วเสร็จตามเวลาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน   ร้อยละ          27.3
          ยังไม่เห็นรูปแบบที่เหมาะสมในตอนนี้                                     ร้อยละ          14.4
          ไม่แน่ใจ                                                         ร้อยละ          16.6

7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงจนถึงที่สุด ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการรัฐประหารของทหาร”
          เห็นด้วย                                                         ร้อยละ          38.5
          ไม่เห็นด้วย                                                       ร้อยละ          42.1
          ไม่แน่ใจ                                                         ร้อยละ          19.4

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

1. เพื่อสะท้อนความกังวลและผลกระทบต่อสถานการณ์บ้านเมือง หากกลุ่ม กปปส. ปิดพื้นที่กรุงเทพฯ

2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะลดเหตุการณ์ความรุนแรงจากการปิดพื้นที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่

3. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการลาออกจากการเป็นนายกฯ ของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะช่วยลดความรุนแรงทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด

4. เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อยุติความขัดแย้ง

5. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแนวทางการปฏิรูป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พระนคร ภาษีเจริญ ยานาวา ราษฎร์บูรณะ วัฒนา สะพานสูง สาทรและหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,021 คน เป็นชายร้อยละ 51.4 และหญิงร้อยละ 48.6

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด (Open – ended Questions) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :   3 - 6 มกราคม 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   7 มกราคม 2557

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                         525      51.4
          หญิง                                         496      48.6
                    รวม                             1,021       100
อายุ
          18 – 25 ปี                                   246      24.1
          26 – 35 ปี                                   279      27.3
          36 – 45 ปี                                   231      22.6
          46 ปีขึ้นไป                                    265        26
                    รวม                             1,021       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                492      48.2
          ปริญญาตรี                                     451      44.2
          สูงกว่าปริญญาตรี                                 78       7.6
                    รวม                             1,021       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                   103      10.1
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                    315      30.8
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                     212      20.8
          เจ้าของกิจการ                                  60       5.9
          รับจ้างทั่วไป                                   147      14.4
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                         50       4.9
          นักศึกษา                                      120      11.8
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น                14       1.3
                    รวม                             1,021       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ