กรุงเทพโพลล์: มอบความสุขปีใหม่ ด้วยหนังสือ

ข่าวผลสำรวจ Monday December 15, 2014 10:06 —กรุงเทพโพลล์

ผลสำรวจแผนการอ่าน สสส. พบ : คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับหนังสือเป็นของขวัญ เผย “ดีใจหากได้หนังสือดีๆที่ถูกใจในโอกาสพิเศษมากกว่าของขวัญอย่างอื่น” หนังสือที่อยากได้มากที่สุดคือหนังสือท่องเที่ยวและสุขภาพ ส่วนคนดังอยากมอบหนังสือธรรมะเป็นของขวัญปีใหม่

เนื่องในเทศกาล “ปีใหม่ พ.ศ. 2558” นี้ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายเสียงประชาชน (We Voice) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “มอบความสุขปีใหม่ ด้วยหนังสือ” โดยเก็บข้อมูลจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศในช่วงวันที่ 8-20 พฤศจิกายน 2557 จำนวน 1,234 คน สรุปผลสำรวจได้ดังนี้

ประชาชนร้อยละ 47.4 ตั้งใจว่าจะซื้อ/มอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนรู้จักใกล้ชิด เพราะเห็นว่าเป็นของขวัญที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ในขณะที่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.6) จะไม่ซื้อหรือมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ เพราะไม่รู้จะซื้อให้ใคร ไม่รู้จะซื้อหนังสืออะไร หรือไม่รู้ว่าผู้รับชอบอ่านหนังสือประเภทไหน กลัวว่าจะไม่ได้อ่าน หนังสือมีราคาแพง และปัจจุบันสามารถอ่านผ่านอินเทอร์เน็ตได้สะดวก จึงคิดว่าซื้ออย่างอื่นน่าจะเหมาะสมกว่า

แต่หากจะมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ ร้อยละ 40.1 ตั้งใจจะมอบให้ลูกหลาน รองลงมาร้อยละ 31.2 จะมอบให้พ่อ แม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพ และร้อยละ 27.1 จะมอบให้เพื่อน

ส่วนประเภทของหนังสือที่ตั้งใจจะมอบให้เป็นของขวัญปีใหม่นั้น ร้อยละ 29.8 ตั้งใจจะมอบหนังสือภาพ/หนังสือนิทาน/หนังสือเด็ก รองลงมาร้อยละ 29.6 จะมอบหนังสือเกี่ยวกับการเรียน และร้อยละ 29.3 จะมอบหนังสือเกี่ยวกับศาสนาและหนังสือธรรมะ ตามลำดับ

จำนวนของหนังสือที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ ประชาชนร้อยละ 25.8 ระบุว่าจะซื้อจำนวน 1 เล่ม รองลงมา ร้อยละ 23.7 จะซื้อ 2 เล่ม และร้อยละ 21.7 จะซื้อมากกว่า 5 เล่ม ทั้งนี้ หากพิจารณาภาพรวมพบว่า จะซื้อจำนวน 3 เล่ม

เมื่อถามงบประมาณต่อเล่มในการซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่นั้น ประชาชนจะซื้อหนังสือที่ราคาไม่เกินเล่มละ 100 บาท (ร้อยละ 45.5) รองลงมาราคาเล่มละ 101-200 บาท (ร้อยละ 33.9) และราคาเล่มละ 200 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 20.6) ตามลำดับ

ในส่วนของประสบการณ์การได้รับหนังสือเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 ระบุว่าไม่เคยได้รับ ร้อยละ 40.6 เคยได้รับนานๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 7.6 ที่เคยได้รับบ่อยๆ

เมื่อถามว่า ดีใจที่ได้ของขวัญเป็นหนังสือดีๆ ที่ถูกใจในโอกาสพิเศษ มากกว่าของขวัญอย่างอื่นใช่หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 50.9 ระบุว่าใช่ ร้อยละ 29.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 19.9 ระบุว่าไม่ใช่

สำหรับหนังสือที่อยากได้มากที่สุด ถ้ามีคนซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ให้ พบว่า อันดับแรก อยากได้หนังสือท่องเที่ยว/สุขภาพ (ร้อยละ 16.5) รองลงมา อยากได้หนังสือเกี่ยวกับศาสนา/หนังสือธรรมะ (ร้อยละ 15.4) และ อยากได้หนังสือเสริมสร้างวิธีคิด/เพิ่มกำลังใจ (ร้อยละ 14.2) ตามลำดับ

ส่วนความคิดเห็น ต่อวิธีสนับสนุนให้คนไทย “รักการอ่าน” เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่านที่ชัดเจนมากขึ้นนั้น อันดับแรก เห็นว่า พ่อแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกๆ รักการอ่าน (ร้อยละ 44.7) รองลงมา เห็นว่า ทุกโรงเรียนต้องจัดกิจกรรมจูงใจให้เด็กรักการอ่าน (ร้อยละ 17.7) และ เห็นว่าชุมชน หมู่บ้าน วัดต้องให้การสนับสนุน-จัดสถานที่/ห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน (ร้อยละ 10.5)

สำหรับความคิดเห็นคนดัง อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ชอบอ่านหนังสือประเภท “ธรรมะ และเรื่องที่มีจินตนาการ” มากที่สุด เพราะ “อ่านแล้วทำให้เกิดความสุข” และจะซื้อหนังสือประเภท “หนังสือธรรมะ” เป็นของขวัญปีใหม่ โดยจะซื้อให้ “ญาติมิตรที่ฟุ้งซ่านทางโลก”

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ชอบอ่านหนังสือประเภท “นวนิยายกำลังภายใน” มากที่สุด เพราะ “ให้ข้อคิด-คติที่ดี” และจะซื้อหนังสือประเภท “หนังสือธรรมะ” เป็นของขวัญปีใหม่ โดยจะซื้อให้ “ครอบครัว ญาติมิตร”

ผลการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยจากทุกภาค สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 3 ประการ ดังนี้

1. คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับหนังสือเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ แม้ส่วนใหญ่จะระบุว่า “ดีใจหากได้ของขวัญเป็นหนังสือดีๆ ที่ถูกใจในโอกาสพิเศษมากกว่าของขวัญอย่างอื่น”

2. เหตุผลสำคัญของการไม่ซื้อหนังสือเป็นของขวัญมอบให้ผู้อื่นเนื่องจาก ไม่รู้จะซื้อให้ใคร ไม่รู้จะซื้อหนังสืออะไร หรือไม่รู้ว่าผู้รับชอบอ่านหนังสือประเภทไหน และกลัวว่าซื้อให้ก็จะไม่ได้อ่าน

3. ประเภทของหนังสือที่ตั้งใจจะมอบเป็นของขวัญให้บุคคลรู้จักใกล้ชิดคือ หนังสือภาพ/หนังสือนิทาน รองลงมาคือหนังสือเกี่ยวกับการเรียน และหนังสือเกี่ยวกับศาสนา/ธรรมะ ขณะที่หนังสือที่ตนเองอยากได้รับเป็นของขวัญมากที่สุดกลับเป็นหนังสือท่องเที่ยวและสุขภาพ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเบาๆ และผ่อนคลายมากกว่าหนังสือที่ตั้งใจจะมอบเป็นของขวัญให้ผู้อื่น

4. พ่อแม่คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมไทยเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้ชัดเจนมากขึ้น โดยพ่อแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกๆ รักการอ่าน

ด้านนางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ให้ข้อเสนอแนะว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ สังคมไทยให้ความสำคัญกับความสุขนอกบ้าน และของขวัญที่เน้นไปในเรื่องการดื่ม อยากเชิญชวนให้ลองกลับมาพิจารณาถึงของขวัญที่ให้ความสุขทั้งทางปัญญา การพักผ่อนที่รื่นรมย์ การดูแลสุขภาพ การเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล หรือแม้แต่การได้ท่องเที่ยวไปยังดินแดนต่างๆ ที่ยังไม่มีโอกาสไปถึง อย่างที่ผลสำรวจพบว่า หนังสือที่คนส่วนใหญ่อยากได้คือหนังสือท่องเที่ยวและหนังสือสุขภาพ

จึงขอถือโอกาสชักชวนสังคมไทยร่วมสร้างค่านิยมใหม่มอบหนังสือเป็นของขวัญส่งความสุขและส่งสุขภาพที่ดีต่อกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ติดต่อ 02-424-4616-17

ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการสำรวจ ติดต่อ 02-350-3500 ต่อ 1527

1. ท่านจะซื้อ/มอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่หรือไม่
ร้อยละ  47.4    ซื้อ/มอบ          เพราะ   เป็นของขวัญที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ช่วยสร้างความ   สนุกสนานเพลิดเพลินและให้กำลังใจ สามารถเก็บเป็นที่ระลึกได้นาน

และอยากสนับสนุนให้คนรู้จักใกล้ชิดอ่าหนังสือให้มากขึ้น ฯลฯ

ร้อยละ  52.6    ไม่ซื้อ/ไม่มอบ      เพราะ   ไม่รู้จะซื้อให้ใคร ไม่มีใครชอบอ่านหนังสือ  เลือกไม่ถูก ไม่รู้จะซื้อหนังสืออะไร ไม่เคยซื้อหนังสือเป็นของขวัญให้ใคร ซื้อให้ก็คง

ไม่ได้อ่าน ซื้อของขวัญอย่างอื่นง่ายกว่า หนังสือมีราคาแพง และปัจจุบันสามารถอ่านผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องซื้อหนังสือ ฯลฯ

2. หากจะมอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ท่านจะซื้อ/มอบให้ใครบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ 40.1 ลูก/หลาน

ร้อยละ 31.2 พ่อ/แม่/ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพ

ร้อยละ 27.1 เพื่อน

ร้อยละ 25.7 เด็กยากจน/ผู้ด้อยโอกาส

ร้อยละ 17.6 แฟน/คนรัก

ร้อยละ 17.1 พี่/น้อง/ญาติๆ

ร้อยละ 11.8 หัวหน้างาน/เพื่อนร่วมงาน

ร้อยละ 9.5 ครู/อาจารย์

ร้อยละ 1.7 อื่นๆ ตัวเอง พระสงฆ์ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวัด

3. หากจะมอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ตามบุคคลที่เลือกในข้อ 2 ท่านจะซื้อหนังสือประเภทใดให้มากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ 29.8 หนังสือภาพ/หนังสือนิทาน/หนังสือเด็ก

ร้อยละ 29.6 หนังสือเกี่ยวกับการเรียน

ร้อยละ 29.3 ศาสนา/หนังสือธรรมะ

ร้อยละ 28.0 หนังสือท่องเที่ยว/สุขภาพ

ร้อยละ 24.4 หนังสือเสริมสร้างวิธีคิด/เพิ่มกำลังใจ

ร้อยละ 20.5 การ์ตูน

ร้อยละ 13.9 หนังสือความรู้เกี่ยวกับอาชีพ

ร้อยละ 13.6 วรรณกรรม/นวนิยาย

ร้อยละ 8.3 หนังสือประวัติศาสตร์

ร้อยละ 7.0 นิตยสาร/วารสาร

ร้อยละ 6.3 หนังสือศิลปะ/บันเทิง (เพลง/ดารา)

ร้อยละ 3.2 หนังสืออื่นๆ (ระบุ) การออกแบบ กีฬา ทำอาหาร สารคดีต่างๆ เกษตร งานอดิเรก แต่งบ้าน

4. ถ้าจะมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ ท่านตั้งใจจะซื้อจำนวนกี่เล่ม

ร้อยละ 25.8 จะซื้อ 1 เล่ม

ร้อยละ 23.7 จะซื้อ 2 เล่ม

ร้อยละ 21.7 จะซื้อมากกว่า 5 เล่ม

ร้อยละ 13.4 จะซื้อ 3 เล่ม

ร้อยละ 12.3 จะซื้อ 5 เล่ม

ร้อยละ 3.1 จะซื้อ 4 เล่ม

เฉลี่ย (ค่ากลาง) จะซื้อจำนวน 3 เล่ม

โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยต่อเล่ม กี่บาท

ร้อยละ 45.5 ราคาไม่เกิน 100 บาทต่อเล่ม

ร้อยละ 33.9 ราคา 101-200 บาทต่อเล่ม

ร้อยละ 20.6 ราคามากกว่า 200 บาทต่อเล่ม

เฉลี่ย (ค่ากลาง) จะซื้อราคาเล่มละ 120 บาท

หมายเหตุ: ใช้ค่ากลางเนื่องจากหากใช้ค่าเฉลี่ยจะทำให้ข้อมูลสูงกว่าความเป็นจริงเพราะผู้ตอบที่มีจำนวนหนังสือที่จะซื้อสูงหรือตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไปซึ่งจะดึงค่าเฉลี่ยรวมให้สูงตาม

5. ท่านเคยได้รับหนังสือเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ ฯลฯ หรือไม่

ร้อยละ 51.8 ไม่เคย

ร้อยละ 40.6 เคย นานๆ ครั้ง

ร้อยละ 7.6 เคย บ่อยๆ

6. ท่านดีใจที่ได้ของขวัญเป็นหนังสือดีๆ ที่ถูกใจในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ ฯลฯ มากกว่าของขวัญอย่างอื่นใช่หรือไม่

ร้อยละ 50.9 ใช่

ร้อยละ 29.2 ไม่แน่ใจ

ร้อยละ 19.9 ไม่ใช่

7. ถ้ามีคนซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ให้ ท่านอยากได้หนังสือประเภทใดมากที่สุด (ตอบเพียง 1 ข้อ)

ร้อยละ 16.5 หนังสือท่องเที่ยว/สุขภาพ

ร้อยละ 15.4 ศาสนา/หนังสือธรรมะ

ร้อยละ 14.2 หนังสือเสริมสร้างวิธีคิด/เพิ่มกำลังใจ

ร้อยละ 13.6 หนังสือความรู้เกี่ยวกับอาชีพ

ร้อยละ 8.7 นิตยสาร/วารสาร

ร้อยละ 8.2 วรรณกรรม/นวนิยาย

ร้อยละ 4.7 การ์ตูน

ร้อยละ 4.6 หนังสือประวัติศาสตร์

ร้อยละ 4.4 หนังสือศิลปะ/บันเทิง (เพลง/ดารา)

ร้อยละ 4.5 หนังสือเกี่ยวกับการเรียน

ร้อยละ 2.7 หนังสือภาพ/หนังสือนิทาน/หนังสือเด็ก

ร้อยละ 2.6 หนังสืออื่นๆ (ระบุ) การออกแบบ กีฬา ทำอาหาร สารคดีต่างๆ เกษตร งานอดิเรก แต่งบ้าน ชีวประวัติคนดัง โหราศาสตร์ พระ เครื่องยนต์/รถยนต์

8. เพื่อ “ส่งความสุขด้วยหนังสือในวันปีใหม่ 2558” นี้ ท่านคิดว่า วิธีสนับสนุนให้คนไทยรักการอ่านได้ดีที่สุดควรเป็นอย่างไร จึงจะพัฒนาสังคมไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่านที่ชัดเจนได้มากขึ้น (ตอบเพียง 1 ข้อ)

ร้อยละ 44.7 พ่อแม่กระตุ้นให้ลูกๆรักการอ่าน

ร้อยละ 17.7 ทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมจูงใจให้เด็กรักการอ่าน

ร้อยละ 10.5 ชุมชน หมู่บ้าน วัดให้สนับสนุน-จัดสถานที่ห้องสมุด

ร้อยละ 10.2 ทุกหน่วยงาน-ห้องสมุดกระตุ้น/สนับสนุนการอ่าน

ร้อยละ 9.5 จัดตั้งชมรมรักการอ่าน ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน

ร้อยละ 6.0 ประชาชน/นักศึกษามีจิตอาสาช่วยเด็กๆรักการอ่าน

ร้อยละ 1.3 อื่นๆ (ระบุ) สอนให้เด็กรักการอ่านด้วยตัวเรา

9. ความคิดเห็นคนดัง
9.1 อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ประเภทหนังสือที่ชอบมากที่สุด คือ “ธรรมะ และเรื่องที่มีจินตนาการ” เพราะ “อ่านแล้วทำให้เกิดความสุข” และจะซื้อหนังสือประเภท “หนังสือธรรมะ” เป็นของขวัญปีใหม่ โดยจะซื้อให้ “ญาติมิตรที่ฟุ้งซ่านทางโลก”

9.2 รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

ประเภทหนังสือที่ชอบมากที่สุด คือ “นวนิยายกำลังภายใน” เพราะ “ให้ข้อคิด-คติที่ดี” และจะซื้อหนังสือประเภท “หนังสือธรรมะ” เป็นของขวัญปีใหม่ โดยจะซื้อให้ “ครอบครัว ญาติมิตร”

ระเบียบวิธีวิจัย วัตถุประสงค์

1. เพื่อทราบความสนใจมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ และเหตุผลที่เลือกให้หนังสือเป็นของขวัญ

2. เพื่อทราบประเภทของหนังสือที่จะมอบเป็นของขวัญ และบุคคลที่จะมอบให้

3. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของคนดังเกี่ยวกับการมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่

ประชากรและตัวอย่าง

ประชาชนทั่วไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ขนาดตัวอย่าง

ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,234 ตัวอย่าง ซึ่งจะให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

การสุ่มตัวอย่าง

โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายขั้น (Multi-Stage Stratified Sampling) แบ่งพื้นที่ไปตามภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องตามนิยามของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ขั้นที่ 1 แบ่งประเทศไทยออกเป็น 7 ภูมิภาค (ชั้นภูมิ) แล้วทำการสุ่มจังหวัดในแต่ละชั้นภูมิได้ดังนี้

(1) กรุงเทพมหานคร

(2) ปริมณฑล สุ่มได้จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ

(3) ภาคกลาง สุ่มได้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(4) ภาคตะวันออก สุ่มได้จังหวัดชลบุรี

(5) ภาคเหนือ สุ่มได้จังหวัดเชียงใหม่

(6) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุ่มได้จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา

(7) ภาคใต้ สุ่มได้จังหวัดสงขลา

ขั้นที่ 2 ในแต่ละจังหวัดที่สุ่มได้ เลือกอำเภอเมือง 1 อำเภอ และอำเภออื่นอีก 1 อำเภอ

ขั้นที่ 3 ในแต่ละอำเภอที่สุ่มได้ในขั้นที่ 2 แบ่งพื้นที่ออกเป็นในเขตและนอกเขตเทศบาล ในแต่ละเขตพื้นที่จะสุ่มครัวเรือนมาตามจำนวนที่กำหนด

ขั้นที่ 4 ในการประมวลผลจะทำการถ่วงน้ำหนักตัวอย่างด้วยจำนวนประชากรในภูมิภาคนั้น

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-20 พฤศจิกายน 2557

กำหนดวันเผยแพร่ผลสำรวจ : 15 ธันวาคม 2557

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                             606      49.1
          หญิง                                             628      50.9
          รวม                                           1,234       100
อายุ
          ต่ำกว่า 20 ปี                                      207      16.8
          21-30 ปี                                         322      26.1
          31-40 ปี                                         260      21.1
          41-50 ปี                                         238      19.3
          มากกว่า 50 ปี                                     207      16.7
          รวม                                           1,234       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                    611      49.5
          ปริญญาตรี                                         505        41
          สูงกว่าปริญญาตรี                                    118       9.5
          รวม                                           1,234       100
อาชีพ
          ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ                         138      11.2
          พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน                           300      24.3
          ค้าขาย/อาชีพส่วนตัว                                 230      18.7
          เจ้าของกิจการ                                      81       6.6
          รับจ้างทั่วไป                                       121       9.8
          พ่อบ้าน / แม่บ้าน /เกษียณอายุ                          60       4.7
          อื่นๆ เช่น นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน                  304      24.7
          รวม                                           1,234       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ