กรุงเทพโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”

ข่าวผลสำรวจ Monday November 9, 2015 11:32 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 73.4% ต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีเองโดยตรงมากกว่าเลือกผ่าน ส.ส. 61.9% ชอบแนวคิดการเลือกตั้ง “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” 86.9% เห็นด้วยกับการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน และ 81.0% เห็นด้วยหากใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,229 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า

ข้อดีของแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ในประเด็น “การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน”ประชาชนร้อยละ 86.9 เห็นด้วยมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 81.0 เห็นด้วยกับประเด็น “คุณสมบัติของผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้งที่กำหนดให้ใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต” ร้อยละ 69.8 เห็นด้วยกับประเด็น “การเลือกตั้งระบบใหม่เป็นการคำนึงถึงคะแนนของประชาชนทุกเสียงที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยคะแนนเสียงที่ไม่ได้รับเลือกจะไม่ถูกตัดทิ้งไป” ร้อยละ 69.6 เห็นด้วยกับประเด็น “การเลือกตั้งระบบใหม่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเลือกตั้ง เพราะถึงแม้ว่า ส.ส.ที่ตนเลือกไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ยังสามารถเอาไปนับรวมในระบบบัญชีรายชื่อได้” และร้อยละ 64.5 เห็นด้วยกับประเด็น “การเลือกตั้งระบบใหม่เป็นวิธีการปรองดอง คือให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรคการเมืองตามสมควร”

เมื่อถามประชาชนว่าชอบแนวคิดการเลือกตั้งรูปแบบใดมากกว่ากันระหว่างการเลือกตั้งแบบเก่าที่ทำให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็งแต่ไม่ได้นำคะแนนเสียงทุกเสียงของประชาชนมาใช้ กับแนวคิดแบบใหม่ที่อาจทำให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคแต่นำคะแนนเสียงทุกเสียงมาใช้ พบว่า ร้อยละ 61.9 ชอบแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่”ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” มากกว่า ขณะที่ร้อยละ 27.4 ชอบการเลือกตั้งระบบเดิมมากกว่า ที่เหลือร้อยละ 10.7 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่าต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยรูปแบบใด พบว่าร้อยละ 73.4 ต้องการเลือกนายกรัฐมนตรีได้เองโดยตรง ขณะที่ร้อยละ 21.8 ต้องการเลือกโดยผ่าน ส.ส.ในสภาฯ และร้อยละ 4.8 ไม่แน่ใจ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ในประเด็นต่าง ดังนี้

ประเด็น                                                                  เห็นด้วย         ไม่เห็นด้วย      ไม่แน่ใจ
                                                                        (ร้อยละ)        (ร้อยละ)       (ร้อยละ)
การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทำให้เข้าใจง่ายในการลงคะแนน                              86.9           10.5          2.6
คุณสมบัติของผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้ง  โดยใครที่ทุจริตการเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต             81.0           17.2          1.8
เป็นการคำนึงถึงคะแนนของประชาชนทุกเสียงที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยคะแนนเสียง           69.8           20.9          9.3
ที่ไม่ได้รับเลือกจะไม่ถูกตัดทิ้งไป
ระบบนี้ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเลือกตั้ง เพราะถึงแม้ว่า ส.ส.ที่ตนเลือกไม่ได้รับเลือกตั้ง     69.6           22.8          7.6
แต่ยังสามารถเอาไปนับรวมในระบบบัญชีรายชื่อได้
ระบบนี้เป็นวิธีการปรองดอง คือให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรคการเมืองตามสมควร                 64.5           23.2         12.3

2.  ระหว่างการเลือกตั้งแบบเก่าที่ทำให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็งแต่ไม่ได้นำคะแนนเสียงทุกเสียงของประชาชนมาใช้ กับแนวคิดแบบใหม่ที่อาจทำให้มีรัฐบาลผสมหลายพรรคแต่นำคะแนนเสียงทุกเสียงมาใช้ ชอบแนวคิดการเลือกตั้งรูปแบบใดมากกว่ากัน

ชอบแนวคิดการเลือกตั้งแบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” มากกว่า                 ร้อยละ 61.9
ชอบการเลือกตั้งระบบเดิมมากกว่า                                          ร้อยละ 27.4
ไม่แน่ใจ                                                             ร้อยละ 10.7

3. ความเห็นต่อรูปแบบการเลือกนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ

เลือกนายกฯ ได้เองโดยตรง                                              ร้อยละ 73.4
เลือกโดยผ่าน ส.ส. ในสภา                                              ร้อยละ 21.8
ไม่แน่ใจ                                                             ร้อยละ  4.8

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวความคิดการเลือกตั้งระบบใหม่ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” ในประเด็นต่างๆ รวมถึงวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-5 พฤศจิกายน 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ          :  7 พฤศจิกายน 2558

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               655      53.3
          หญิง                               574      46.7
          รวม                             1,229       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       198      16.1
          31 ปี – 40 ปี                       285      23.2
          41 ปี – 50 ปี                       360      29.3
          51 ปี - 60 ปี                       257      20.9
          61 ปี ขึ้นไป                         129      10.5
          รวม                             1,229       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      811        66
          ปริญญาตรี                           355      28.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                       63       5.1
          รวม                             1,229       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        182      14.8
          ลูกจ้างเอกชน                        281      22.9
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        500      40.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                70       5.7
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            144      11.7
          นักเรียน/ นักศึกษา                     42       3.4
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            10       0.8
          รวม                             1,229       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ