กรุงเทพโพลล์: “บทบาทของไทยในอาเซียน : การร่วมมือและความมั่งคั่ง”

ข่าวผลสำรวจ Thursday January 21, 2016 11:00 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ ระบุ ปัญหาการเมือง ภาษาอังกฤษ และระบบราชการไทย เป็นปัจจัยที่ขัดขวางความร่วมมือในอาเซียน เสนอแนะให้ไทยเร่งขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV รวมถึงการเป็น Hub of ASEAN logistics พร้อมเรียกร้องให้อาเซียนมีเอกภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเวทีโลก และควรเร่งขยายโครงข่ายการคมนาคมระหว่างกัน

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง “บทบาทของไทยในอาเซียน: การร่วมมือและความมั่งคั่ง” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-13 มกราคม ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.4 เห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีบทบาทค่อนข้างมากในภูมิภาคอาเซียน โดยร้อยละ 43.8 เห็นว่าไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นว่าไทยมีบทบาทน้อยลงในอาเซียน

เมื่อถามว่าปัจจุบันมีอะไรบ้างในระบบของไทยที่ขัดขวางความร่วมมือในอาเซียน นักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่าเป็นปัญหาการเมือง ความขัดแย้งทางความคิดของคนในประเทศ(ร้อยละ 29.1) รองลงมาเป็นการสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย (ร้อยละ 19.6) ถัดมาเป็นระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ กฎหมายล้าหลังหรือไม่เอื้อต่อความร่วมมือ (ร้อยละ 19.4) ส่วนอุปสรรคสำคัญในการทำให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบคือ ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิก การมองประเทศเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง(ร้อยละ 32.2) รองลงมาเป็นความขาดเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก(ร้อยละ 22.4) และความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน (ร้อยละ 20.0)

ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 19.3 เห็นว่าอาเซียนควรจะร่วมมือกันในด้านขยายโครงข่ายการคมนาคมระหว่างกันให้ครอบคลุมโดยเร็วที่สุด รองลงมาร้อยละ 19.0 เห็นว่าควรขยายปริมาณการค้าในหมู่ประเทศสมาชิก และร้อยละ 17.0 เห็นว่าควรเพิ่มบทบาทและสร้างเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรเร่งขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV รวมถึงเร่งขยายการค้า ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อให้เป็น Hub of ASEAN logistics

ในส่วนของปัจจัยสำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าจะช่วยขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ มีดังนี้

อันดับ 1 สร้างความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการไว้ใจซึ่งกันและกันรวมถึงการมีจุดยืนร่วมกันในเวทีโลก

อันดับ 2 ลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิก มีการช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจ

อันดับ 3 สร้างโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และมีการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันให้มากขึ้น

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ปัจจุบันบทบาทของไทยในอาเซียนอยู่ในระดับใด
          ร้อยละ  6.3        มากที่สุด
          ร้อยละ 73.4        ค่อนข้างมาก
          ร้อยละ 18.8        ค่อนข้างน้อย
          ร้อยละ  0.0        น้อยที่สุด
          ร้อยละ  1.5        ไม่ตอบ/ไม่ทราบ

2.  ปัจจุบันบทบาทของไทยในอาเซียนเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับอดีต
          ร้อยละ 29.7        ไทยมีบทบาทน้อยลงในอาเซียน
          ร้อยละ 43.8        ไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอาเซียน
          ร้อยละ 23.4        ไทยมีบทบาทเหมือนเดิม
          ร้อยละ  3.1        ไม่ตอบ/ไม่ทราบ

3.  มีอะไรบ้างในระบบของไทยที่ขัดขวางความร่วมมือในอาเซียน
          ร้อยละ 29.1        ปัญหาการเมือง ความขัดแย้งทางความคิดของคนในประเทศ
          ร้อยละ 19.6        การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย
          ร้อยละ 19.4        ระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ กฎหมายล้าหลังหรือไม่เอื้อต่อความร่วมมือ
          ร้อยละ 11.5        ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย
          ร้อยละ  9.4        ทัศนคติของคนไทยที่มองประเทศเพื่อบ้านเป็นคู่แข่ง เป็นศัตรู
          ร้อยละ  7.3        โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ยังไม่พร้อม
          ร้อยละ 3.7         อื่นๆ ได้แก่ ทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่พร้อม ทัศนคติที่มองไทยเหนือกว่าประเทศอื่น รวมถึงการไม่นิยมออกไปแสวงหาโอกาสภายนอกประเทศ

ของคนไทยและภาคเอกชนไทย ความไม่รู้/ ไม่เข้าใจข้อตกลงอาเซียน สิทธิที่ควรได้รับ

4. อะไรคืออุปสรรคสำคัญในการทำให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ

ร้อยละ 32.2 ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิก การมองประเทศเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง

ร้อยละ 22.4 ความขาดเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก

ร้อยละ 20.0 ความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน

          ร้อยละ  9.2        ความแตกต่างด้านภาษาที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารระหว่างกัน
          ร้อยละ  7.3        ความขัดแย้งเรื่องพรมแดนในหมู่ประเทศสมาชิก
          ร้อยละ  7.3        ความแตกต่างด้านการเมืองการปกครอง
          ร้อยละ 1.6         อื่นๆ ได้แก่ มาตรการที่มิใช้ภาษี/ กฎระเบียบที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงบ่อย  ความไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญในการรวมกัน

ขาดความร่วมมือ รวมถึงองค์กรที่ประสานความร่วมมือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน

หมายเหตุ มีผู้แสดงความเห็น 63 คน

5. ประเทศในอาเซียนควรจะร่วมมือกันในด้านใดให้เร็วที่สุด

ร้อยละ 19.3 ขยายโครงข่ายการคมนาคมระหว่างกันให้ครอบคลุม

ร้อยละ 19.0 ขยายปริมาณการค้าในหมู่ประเทศสมาชิก

ร้อยละ 17.0 เพิ่มบทบาทและสร้างเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก

ร้อยละ 13.9 สร้างความมั่นคงในภูมิภาค

ร้อยละ 14.4 ขยายการลงทุนในประเทศสมาชิก

ร้อยละ 7.2 การท่องเที่ยวระหว่างกันของประชาชนอาเซียนให้มากขึ้น

ร้อยละ 4.6 การเคลื่อนย้ายแรงงานที่เสรีให้ครอบคลุมสาขาอาชีพต่างๆ ให้มากขึ้น

ร้อยละ 4.6 มีการแลกเปลี่ยนด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างกันให้มากขึ้น

6. ประเทศไทยควรใช้ประโยชน์อย่างไรจากการเปิดประชาคมอาเซียนให้มากที่สุด (คำถามปลายเปิด)
          อันดับ 1            เน้นขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV
          อันดับ 2            ขยายการค้า ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงการกระจายพืชผลสินค้าเกษตร
          อันดับ 3            ใช้ประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน ด้วยการดำเนินการให้เป็น Hub of ASEAN logistics
          อันดับ 4            ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ให้คนในอาเซียนมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น
          อันดับ 5            ใช้ประโยชน์ด้านค่าจ้างแรงงานในอาเซียนที่ยังคงอยู่ในระดับไม่สูง  รวมถึงเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทยด้วย
          อันดับ 6            อื่นๆ ได้แก่ เน้นสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เร่งลดภาษีสินค้าและบริการ การส่งเสริมการเกษตรอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

7. ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ (คำถามปลายเปิด)
          อันดับ 1            สร้างความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการไว้ใจซึ่งกันและกันรวมถึงการมีจุดยืนร่วมกันในเวทีโลก
          อันดับ 2            ลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิก มีการช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจ
          อันดับ 3            สร้างโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และมีการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันให้มากขึ้น
          อันดับ 4            มีความร่วมมือกันทางการเมืองให้มากขึ้น  มีการเกื้อกูลระหว่างกัน รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน
          อันดับ 5            เร่งลดกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคระหว่างกัน  เพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานทุน รวมถึงการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
          อันดับ 6            อื่นๆ ได้แก่ ลดความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศให้มากที่สุด มีการวางแผนและส่งเสริมการเกษตรระหว่างกัน

มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของทุกประเทศ

          หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                   นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อบทบาทของประเทศไทยในเวทีอาเซียนในปัจจุบัน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือของไทยในอาเซียน รวมถึงประเด็นความร่วมมือที่อาเซียนควรเร่งดำเนินการ ผลสำรวจที่ได้คาดว่าจะประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล          : 7-13 มกราคม 59

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ              :  21 มกราคม 59

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                               31      48.4
          หน่วยงานภาคเอกชน                            22      34.4
          สถาบันการศึกษา                               11      17.2
          รวม                                        64       100
เพศ
          ชาย                                        39      60.9
          หญิง                                        25      39.1
          รวม                                        64       100
อายุ
          20 ปี – 25 ปี                                 1       1.6
          26 ปี – 35 ปี                                15      23.4
          36 ปี – 45 ปี                                29      45.3
          46 ปีขึ้นไป                                   18      28.1
          ไม่ระบุ                                       1       1.6
          รวม                                        64       100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                     3       4.7
          ปริญญาโท                                    45      70.3
          ปริญญาเอก                                   15      23.4
          ไม่ระบุ                                       1       1.6
          รวม                                        64       100
ประสบการณ์
          1-5  ปี                                      7      10.9
          6-10 ปี                                     16        25
          11-15 ปี                                    17      26.6
          16-20 ปี                                     8      12.5
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                              15      23.4
          ไม่ระบุ                                       1       1.6
          รวม                                        64       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ