กรุงเทพโพลล์: “คนกรุงกับเทศกาลสงกรานต์ท่ามกลางวิกฤตภัยแล้ง”

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 7, 2016 09:19 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเทพฯ 84.2% เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้เล่นน้ำสงกรานต์อย่างประหยัด โดยตั้งใจจะเปลี่ยนไปใช้วิธีประพรม และลดจำนวนวันที่จะเล่นน้ำสงกรานต์แทน แต่ 54.6% กังวลว่าการลดเวลาเล่นสงกรานต์อาจจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว 75.6% คิดว่าการเล่นน้ำสงกรานต์ปลอดแอลกอฮอล์เป็นไปได้ยากที่สุด จากนโยบาย 5 ป.

กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนกรุงกับเทศกาลสงกรานต์ ท่ามกลางวิกฤตภัยแล้ง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพฯ จำนวน 1,219 คน พบว่า

ประชนชนร้อยละ 45.4 ระบุว่ากิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันสงกรานต์ปีนี้คือ ไปทำบุญสรงน้ำพระตามวัดต่างๆ รองลงมาร้อยละ 38.7 ระบุว่า จะรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และร้อยละ 31.8 ระบุว่า จะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

ทั้งนี้ ความเห็นต่อการรณรงค์ให้เล่นน้ำอย่างประหยัดในช่วงสงกรานต์เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 15.8 ระบุว่าไม่เห็นด้วย

สำหรับความเห็นต่อการลดจำนวนวันเล่นน้ำสงกรานต์ว่าจะส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวสงกรานต์ของไทยในปีนี้นั้น ร้อยละ 54.6 ระบุว่า น่าจะกระทบต่อบรรยากาศในการท่องเที่ยว ขณะที่ร้อยละ 45.4 ระบุว่า ไม่น่าจะกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว

เมื่อถามว่าจากภาวะภัยแล้งในปีนี้จะเป็นโอกาสให้การเล่นน้ำสงกรานต์รูปแบบประเพณีเก่าแก่ที่สวยงามให้หวนคืนกลับมาได้หรือไม่ ร้อยละ 52.5 คิดว่าได้ รองลงมาร้อยละ 26.4 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 21.1 ไม่แน่ใจ

สำหรับความตั้งใจของประชาชนในการเล่นสงกรานต์ช่วงภัยแล้งในปีนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.7 ตั้งใจจะเล่นน้ำสงกรานต์อย่างประหยัดในปีนี้ ด้วยการเล่นสงกรานต์ด้วยวิธี ประพรม (ร้อยละ 31.3) จะลดจำนวนวันในการเล่นน้ำสงกรานต์ (ร้อยละ 21.3) และจะงดการเล่นน้ำสงกรานต์ในปีนี้ (ร้อยละ 17.5) ขณะที่ร้อยละ 17.3 ระบุว่าจะเล่นน้ำสงกรานต์ตามปกติ

เมื่อถามถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ร้อยละ 66.8 กังวลเรื่องการเมาสุราและการทะเลาะวิวาท รองลงมาร้อยละ 64.9 กังวลเรื่องอุบัติเหตุทางจราจรการเดินทาง และร้อยละ 40.4 กังวลเรื่องการเล่นสงกรานต์แบบรุนแรงเกินขอบเขต

ส่วนความเห็นการรณรงค์สงกรานต์ 5 ป. ของกรุงเทพมหานคร พบว่า เรื่องที่ประชาชนเห็นว่าทำได้ยากที่สุด คือ “ป. ปลอดแอลกอฮอล์” (ร้อยละ 75.6) รองลงมา คือ “ป. ประหยัดน้ำ” (ร้อยละ 35.6) และ “ป. ว่าปลอดโป๊” (ร้อยละ 33.6)

โดยมีรายระเอียดดังต่อไปนี้

1. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันสงกรานต์ปีนี้
ไปทำบุญสรงน้ำพระตามวัดต่างๆ                               ร้อยละ  45.4
รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่                                          ร้อยละ  38.7
พักผ่อนอยู่บ้าน                                            ร้อยละ  31.8
กลับเยี่ยมญาติที่บ้านเกิด                                     ร้อยละ  28.8
ไปเที่ยวกับครอบครัว                                       ร้อยละ  26.2
เล่นน้ำ สงกรานต์                                         ร้อยละ  20.0
ไปเที่ยวต่างจังหวัด                                        ร้อยละ  14.8
ยังไม่มีแผน                                              ร้อยละ   8.0

2. ความเห็นต่อการรณรงค์ให้เล่นน้ำอย่างประหยัดในช่วงสงกรานต์เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล
เห็นด้วย                                                ร้อยละ  84.2
ไม่เห็นด้วย                                              ร้อยละ  15.8

3. การลดจำนวนวันเล่นน้ำสงกรานต์จะส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวสงกรานต์ของไทยในปีนี้ หรือไม่
น่าจะกระทบต่อบรรยากาศในการท่องเที่ยว                       ร้อยละ  54.6
ไม่น่าจะกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว                       ร้อยละ  45.4

4. ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะเป็นโอกาสให้การเล่นน้ำสงกรานต์รูปแบบประเพณีเก่าแก่ที่สวยงามให้หวนคืนกลับมาได้หรือไม่
คิดว่าได้                                                ร้อยละ  52.5
คิดว่าไม่ได้                                              ร้อยละ  26.4
ไม่แน่ใจ                                                ร้อยละ  21.1

5. การเล่นน้ำสงกรานต์ของประชาชนในช่วงวิกฤตภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้
ตั้งใจจะเล่นน้ำสงกรานต์ปกติเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา                 ร้อยละ  17.3
ตั้งใจจะเล่นน้ำสงกรานต์อย่างประหยัดในปีนี้                      ร้อยละ  82.7
ด้วยการ …
จะใช้วิธีประพรม                                          ร้อยละ  31.3
จะลดจำนวนวันในการเล่นน้ำสงกรานต์                          ร้อยละ  21.3
จะงดการเล่นน้ำสงกรานต์ในปีนี้                               ร้อยละ  17.5
จะลดขนาดปืนฉีดน้ำ/ขันน้ำ                                   ร้อยละ  12.6

6. เรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้

การเมาสุราและการทะเลาะวิวาท                             ร้อยละ 66.8
อุบัติเหตุทางจราจร การเดินทาง                              ร้อยละ 64.9
การเล่นสงกรานต์แบบรุนแรงเกินขอบเขต                        ร้อยละ 40.4
การแต่งตัวโป๊ เต้นโชว์ยั่วยวน การทำอนาจารตามที่สาธารณะ         ร้อยละ 39.1
การแต๊ะอั๋ง การลวนลามและล่วงเกินทางเพศ                     ร้อยละ 33.8
การวางระเบิดสร้างสถานการณ์                               ร้อยละ 19.9

7.ความเห็นการรณรงค์สงกรานต์ 5 ป. ของกรุงเทพมหานคร ข้อที่ทำได้ยาก คือ
ปลอดแอลกอฮอล์                                          ร้อยละ 75.6
ประหยัดน้ำ                                              ร้อยละ 35.6
ปลอดโป๊                                                ร้อยละ 33.6
ปลอดแป้ง                                               ร้อยละ 20.5
ปลอดปืน                                                ร้อยละ 16.7

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำในวันสงกรานต์ การรณรงค์การเล่นน้ำสงกรานต์อย่างประหยัดของภาครัฐ ตลอดจนพฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงภัยแล้งในปีนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองของความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นเขตการปกครองชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ คลองเตย เขตคลองสาน เขตจตุจักร ดินแดง ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม และห้วยขวาง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,219 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล                : 25 - 29 มีนาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                    :  7 เมษายน 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                            614      50.4
          หญิง                                            605      49.6
          รวม                                          1,219       100
อายุ
          18 - 30  ปี                                     302      24.8
          31 - 40  ปี                                     254      20.9
          41 - 50  ปี                                     244        20
          51 – 60 ปี                                      237      19.5
          61 ปีขึ้นไป                                       182      14.8
          รวม                                          1,219       100
การศึกษาปัจจุบัน
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                   783      64.3
          ปริญญาตรี                                        377        31
          สูงกว่าปริญญาตรี                                    59       4.7
          รวม                                          1,219       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                      112       9.2
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                       403      33.1
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                        385      31.6
          เจ้าของกิจการ                                     37         3
          ทำงานให้ครอบครัว                                  13       1.1
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                           162      13.3
          นักเรียน/นักศึกษา                                   80       6.6
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น                   27       2.1
          รวม                                          1,219       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ