กรุงเทพโพลล์: “ความจำเป็นของมาตรา 44 กับสถานการณ์บ้านเมือง หลังผ่านการลงประชามติร่างฯ”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 29, 2016 09:51 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 75.0% ชี้ ม.44 ยังจำเป็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน 56.2% เชื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติ 53.5% ไม่กังวลกับเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความจำเป็นของมาตรา 44 กับสถานการณ์บ้านเมือง หลังผ่านการลงประชา มติร่างฯ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,176 คน พบว่า

เมื่อถามความเห็นว่ามาตรา 44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 เห็นว่ายัง “จำเป็น” ขณะที่ร้อยละ 19.0 เห็นว่า “ไม่จำเป็น” มีเพียงร้อยละ 6.0 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามต่อว่ามาตรา 44 จะสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ให้แก่นานาประเทศหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.2 เห็นว่าจะสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 30.4 เห็นว่าจะไม่สร้างความเชื่อมั่น ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่าวิตกกังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น เหตุระเบิด การก่อการร้าย ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.5 วิตกกังวลค่อนข้าง น้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.4 วิตกกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 4.1 ไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “คิดว่า มาตรา 44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันหรือไม่”
จำเป็น                                                       ร้อยละ           75.0
ไม่จำเป็น                                                     ร้อยละ           19.0
ไม่แน่ใจ                                                      ร้อยละ            6.0

2. ข้อคำถาม “คิดว่า มาตรา 44 จะสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ให้แก่นานาประเทศหรือไม่”
จะสร้างความเชื่อมั่น                                              ร้อยละ          56.2
จะไม่สร้างความเชื่อมั่น                                            ร้อยละ          30.4
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          13.4

3. ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ความ ไม่สงบต่างๆ  เช่น เหตุระเบิด การก่อการร้าย ในประเทศไทย
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                            ร้อยละ          53.5
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 35.0  และน้อยที่สุดร้อยละ 18.5)
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                            ร้อยละ          42.4
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 33.6 และมากที่สุดร้อยละ 8.8)
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ           4.1

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความจำเป็นของมาตรา 44

2) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรา 44 จะสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ให้แก่นานาประเทศ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  23 - 25 สิงหาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  27 สิงหาคม2559

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               637      54.2
          หญิง                               539      45.8
          รวม                             1,176       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       138      11.7
          31 ปี - 40 ปี                       265      22.5
          41 ปี - 50 ปี                       339      28.9
          51 ปี - 60 ปี                       288      24.5
          61 ปี ขึ้นไป                         146      12.4
          รวม                             1,176       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      748      63.6
          ปริญญาตรี                           332      28.2
          สูงกว่าปริญญาตรี                       96       8.2
          รวม                             1,176       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        146      12.4
          ลูกจ้างเอกชน                        250      21.3
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        506        43
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                80       6.8
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            144      12.2
          นักเรียน/ นักศึกษา                     27       2.3
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                     23         2
          รวม                             1,176       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ