กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นประเทศไทย หลังผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 29, 2016 10:02 —กรุงเทพโพลล์

หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ ประชาชนเชื่อมั่นศักยภาพประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกด้าน เชื่อมั่นการบริหารประเทศของรัฐมากที่สุด ขณะที่เชื่อมั่นด้านความรัก ความสามัคคีของคนในชาติน้อยที่สุด 55.8%เชื่อทิศทางการพัฒนาประเทศดีขึ้นและเดินมาถูกทางแล้ว

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทยหลัง ผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,215 คน พบว่า

ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยในภาพรวม 5.41 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 59 ที่ผ่านมา 0.42 คะแนน โดยเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (5.59 คะแนน) รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ (5.38คะแนน) และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (5.27 คะแนน)

เมื่อแยกพิจารณาจากด้านที่ได้ความเชื่อมั่นมากที่สุดไปน้อยที่สุดพบว่า ความเชื่อมั่นด้านการเมืองในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.59 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.47 คะแนน (5.12 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน/คสช. (6.15 คะแนน) ขณะที่ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น (5.03 คะแนน)

ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.38 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.31 คะแนน (5.07 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ได้คะแนน มากที่สุดคือ ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน (5.96 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านฐานะทางการเงินของประเทศ (5.01 คะแนน)

ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.27 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.49 คะแนน (4.78 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6.05 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความรักและความสามัคคีของคนในชาติ (4.93 คะแนน)

สุดท้ายเมื่อถามว่าทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร หลังจากผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.8 เห็นว่าจะดีขึ้นและเดินมาถูกทางแล้ว ขณะที่ร้อยละ 31.8 เห็นว่ายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนร้อยละ 7.1 เห็นว่าแย่ลงกว่าเดิม ที่เหลือร้อยละ 5.3 ไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน

ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ                                                              คะแนนความเชื่อมั่น

(เต็ม 10 คะแนน)

                                                                      มิ.ย.59          ส.ค.59          เปลี่ยนแปลง
1)  ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
   (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี)                            4.71          5.02          +0.31
2)  ด้านฐานะทางการเงินของประเทศ
   (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ)                           4.64          5.01          +0.37
3)  ด้านศักยภาพของคนไทย
   (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/ความซื่อสัตย์มีวินัย และพัฒนาได้)              5.12          5.52          +0.40
4)  ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน
   (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน)                          5.80          5.96          +0.16
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)                                           5.07          5.38          +0.31
5)  ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ                                         4.62          4.93          +0.31
6)  ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
   (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย)               4.50          5.09          +0.59
7)  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                       5.39          6.05          +0.66
8)  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
   (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร การปนเปื้อนในอาหารและมลพิษ)          4.63          5.02          +0.39
ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม)                                   4.78          5.27          +0.49
9)  ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น                                             4.44          5.03          +0.59
10) ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
   (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน )                 4.88          5.45          +0.57
11) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน/คสช.                   5.73          6.15          +0.42
12) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ
   (ถูกต้อง  เป็นกลาง และเป็นประโยชน์)                                       5.44          5.71          +0.27
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)                                           5.12          5.59          +0.47
เฉลี่ยรวมทุกด้าน                                                            4.99          5.41          +0.42

2. ข้อคำถาม “คิดว่าทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร หลังจากผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ”
ดีขึ้นและเดินมาถูกทางแล้ว                              ร้อยละ          55.8
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง                              ร้อยละ          31.8
แย่ลงกว่าเดิม                                       ร้อยละ           7.1
ไม่แน่ใจ                                           ร้อยละ           5.3

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประเทศไทย ในด้านต่างๆ ในปัจจุบัน หลัง ผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

2) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  23 - 25 สิงหาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  28 สิงหาคม2559

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               657      54.1
          หญิง                               558      45.9
          รวม                             1,215       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       146        12
          31 ปี - 40 ปี                       273      22.5
          41 ปี - 50 ปี                       349      28.7
          51 ปี - 60 ปี                       300      24.7
          61 ปี ขึ้นไป                         147      12.1
          รวม                             1,215       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      770      63.4
          ปริญญาตรี                           346      28.5
          สูงกว่าปริญญาตรี                       99       8.1
          รวม                             1,215       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        153      12.6
          ลูกจ้างเอกชน                        260      21.4
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        521      42.9
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                83       6.8
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            146        12
          นักเรียน/ นักศึกษา                     29       2.4
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                     23       1.9
          รวม                             1,215       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ