กรุงเทพโพลล์: “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : ตามรอยพ่อ...ขอทำความดี”

ข่าวผลสำรวจ Monday November 21, 2016 09:58 —กรุงเทพโพลล์

คนไทย ชื่นชมจิตอาสาเก็บขยะที่ท้องสนามหลวง แจกอาหาร มอเตอร์ไซด์-รถยนต์ รับ-ส่ง สนามหลวงฟรี 54.3% ซาบซึ้งใจที่สุดเมื่อครั้งปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันร่วม ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 22 ตุลาคม 2559 56.8% อยากร่วมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน เพื่อเป็นการทำดีถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมระบุ ว่าการสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และนำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติใช้ เป็นวิธีระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจตลอดไป

กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชนเรื่อง “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : ตามรอยพ่อ...ขอทำความดี” โดยเก็บข้อมูลจาก ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,150 คน พบว่า

คนไทยระบุว่ากิจกรรมทำความดีในช่วงเวลานี้ที่น่าชื่นชมมากที่สุดคือ การเป็นจิตอาสาเก็บขยะบริเวณท้องสนามหลวง (ร้อยละ 27.8) รองลงมาคือ การแจกอาหาร น้ำ ขนม พัด ยาดม ร่ม (ร้อยละ 22.3) และการขับขี่มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ รับ-ส่ง สนามหลวงฟรี (ร้อยละ 16.7)

ทั้งนี้กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้ซาบซึ้งใจและประทับใจมากที่สุด คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 ระบุว่าคือ การที่ปวงชนชาวไทยพร้อม ใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา รองลงมาร้อยละ 20.1 ระบุว่าคือ การจุดเทียน ถวายความอาลัย แปรอักษร ที่แต่ละภาค ส่วนจัดขึ้น และร้อยละ 11.0 ระบุว่าคือ การเดินเท้าจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามากราบพระบรมศพ

สำหรับการทำความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้มากที่สุด คนไทยร้อยละ 56.8 ระบุว่าอยากเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือสังคม เช่น เก็บขยะสนามหลวง แจกอาหาร รองลงมาร้อยละ 24.7 ระบุว่าอยากสวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ อธิษฐาน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และร้อยละ 4.8 จะ จุดเทียนถวายอาลัยและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและแปรอักษรในที่ชุมชนและที่จังหวัดจัดขึ้น

ส่วนสิ่งที่ตั้งใจทำเพื่อสร้างความระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจตลอดไป นั้น คนไทยร้อยละ 29.6 ระบุว่า จะเก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ไว้เป็นที่ระลึกและกราบไหว้ บูชา รองลงมา ร้อยละ 26.2 ระบุว่า จะนำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะเรื่องการกินอยู่อย่างพอเพียงไปปฏิบัติและจะนำ ไปสอนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป และร้อยละ 13.9 ระบุว่า จะสะสมธนบัตร เหรียญประจำรัชกาลที่ 9 ไว้เป็นที่ระลึกและนำติดตัวเสมอ

ดังรายละเอียดในต่อไปนี้

1. กิจกรรมทำความดีของคนไทยในช่วงเวลานี้ที่น่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด 5 อันดับแรก
จิตอาสาเก็บขยะบริเวณท้องสนามหลวง                                                  ร้อยละ           27.8
การแจกอาหาร น้ำ ขนม พัด ยาดม ร่ม                                                 ร้อยละ           22.3
การขับขี่มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ รับ-ส่ง สนามหลวงฟรี                                        ร้อยละ           16.7
การบวช สวดมนต์ ทำบุญ ถวายเป็นพระราชกุศล                                           ร้อยละ           13.4
การ แจกริบบิ้นไว้อาลัย เสื้อดำ ย้อมผ้าฟรี ให้ยืมชุดดำ                                      ร้อยละ            7.3

2. กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้ซาบซึ้งใจและประทับใจมากที่สุด
การที่ปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี                               ร้อยละ           54.3
ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
การจุดเทียน ถวายความอาลัย แปรอักษร ที่แต่ละภาคส่วนจัดขึ้น                                ร้อยละ           20.1
การเดินเท้าจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามากราบพระบรมศพ                                      ร้อยละ           11.0
การนำช้าง 11 เชือกจากหมู่บ้านช้างเพนียดหลวงอยุธยา                                     ร้อยละ            9.6
เข้าถวายสักการะพระบรมศพ
การแต่งเพลง/ร้องเพลง ของศิลปินเพื่อระลึกถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9                          ร้อยละ            5.0

3. กิจกรรมทำความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้มากที่สุด 5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
เป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือสังคม เช่น เก็บขยะสนามหลวง แจกอาหาร เป็นต้น         ร้อยละ           56.8
สวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ อธิษฐานถวายเป็นพระราชกุศลแด่                                   ร้อยละ           24.7
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
จะจุดเทียนถวายอาลัยและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและแปรอักษรในที่ชุมชนและที่จังหวัดจัดขึ้น     ร้อยละ            4.8
ปลูกต้นไม้เพื่อลดโลกร้อน                                                            ร้อยละ            4.1
จะสั่งสอนลูกหลานให้ทำตามคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9                                ร้อยละ            2.4

4. วิธีระลึกถึงว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังคงสถิตอยู่ในใจของท่านตลอดไป 5 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
เก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ไว้เป็นที่ระลึกและกราบไหว้ บูชา            ร้อยละ           29.6
นำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะเรื่องการกินอยู่อย่างพอเพียงไปปฏิบัติและจะนำไป              ร้อยละ           26.2
สอนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
สะสมธนบัตร เหรียญประจำรัชกาลที่ 9 ไว้เป็นที่ระลึกและนำติดตัวเสมอ                          ร้อยละ           13.9
จะทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นเหมือนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำเป็นแบบอย่าง                         ร้อยละ            9.1
จะเก็บเรื่องราวของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไว้ในใจและเล่าสู่ลูกหลานฟัง                       ร้อยละ            6.3

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมการทำความดีตามรอยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่เห็นและอยากทำในช่วงเวลานี้ ตลอดจนสิ่งที่จะทำเพื่อระลึก ถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่ายังคงสถิตอยู่ในใจของท่านตลอดไป เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทั่วประเทศด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มพื้นที่ไป ยังประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ48.3 และเพศหญิงร้อยละ 51.7

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบตอบได้เองอย่างอิสระ(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 – 14 พฤศจิกายน 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ        :   20  พฤศจิกายน 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               555      48.3
          หญิง                               595      51.7
          รวม                             1,150       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       284      24.7
          31 ปี - 40 ปี                       230        20
          41 ปี - 50 ปี                       225      19.6
          51 ปี - 60 ปี                       222      19.3
          61 ปี ขึ้นไป                         189      16.4
          รวม                             1,150       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      753      65.5
          ปริญญาตรี                           343      29.8
          สูงกว่าปริญญาตรี                       54       4.7
          รวม                             1,150       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        136      11.8
          ลูกจ้างเอกชน                        344      29.9
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        359      31.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                29       2.5
          ทำงานให้ครอบครัว                     14       1.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            153      13.3
          นักเรียน/ นักศึกษา                     94       8.2
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                     21       1.9
          รวม                             1,150       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ