กรุงเทพโพลล์: “ถอดบทเรียนพระธัมมชโย : วิกฤตการณ์สั่นคลอนพระพุทธศาสนา”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 13, 2017 13:19 —กรุงเทพโพลล์

บทเรียนที่ชาวพุทธได้จาก กรณี “พระธัมมชโย” มากที่สุดคือ การนำความศรัทธาของชาวพุทธมาแปลงเป็นผลประโยชน์เข้าวัดในรูปของการทำบุญและร้อยละ 63.5 ยังระบุว่า ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญโดยเห็นบุญเป็นสินค้าจ่ายเยอะได้บุญเยอะ

เมื่อถามถึงความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ชาวพุทธส่วนใหญ่ร้อยละ 54.6 ระบุว่ากังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด แต่อยากให้มีการปฏิรูปใน วงการพุทธศาสนาให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะ การยึดและเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา

จากกรณีข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและ พระลูกวัดในขณะนี้กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ถอดบทเรียนพระธัมมชโย : วิกฤตการณ์สั่นคลอนพระพุทธศาสนา” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่นับถือศาสนาพุทธจำนวน 1,075คน จากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศ พบว่า

บทเรียนที่ชาวพุทธได้รับจาก กรณี “พระธัมมชโย” มากที่สุด ร้อยละ25.9 คือ การนำความศรัทธาของชาวพุทธมาแปลงเป็นผลประโยชน์เข้าวัดในรูปของการทำบุญรองลงมา ร้อยละ 24.9 คือแสดงให้เห็นว่าชาวพุทธมีความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนาน้อยมากจึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหลศรัทธา และร้อยละ 21.1 คือการปล่อยให้มีการปลูกฝังคำสอน ที่ผิดบิดเบือนการสอนพระธรรมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่

ส่วนเรื่องที่กระทบต่อแนวคิดและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจาก“กรณีธรรมกาย” ชาวพุทธ ร้อยละ 63.5 ระบุว่าเกิดความเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญโดยเห็นบุญเป็นสินค้า จ่ายเยอะได้บุญเยอะ รองลงมาร้อยละ 51.3 ระบุว่าใช้การตลาดเข้ามาบริหารวัดซึ่งขัดต่อพระพุทธศาสนาที่เน้นความเรียบง่าย และร้อยละ 50.6 ระบุว่า สร้างค่านิยมที่“หวังผลดลบันดาล” มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

ส่วนความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ร้อยละ 54.6 ระบุว่ากังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 45.4 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

เรื่องที่อยากให้มีการปฏิรูปในวงการพุทธศาสนาให้เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด ร้อยละ 35.8 ระบุว่า ให้ยึดและเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนารองลงมา ร้อยละ 27.7 ระบุว่า พระภิกษุควรประพฤติตามวินัยสงฆ์การอันใดไม่ใช่กิจของสงฆ์ไม่ควรยุ่ง และร้อยละ 10.2ระบุว่าให้กลั่นกรองผู้เข้ามาบวชเรียนอย่างเคร่งครัด

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. บทเรียนที่ชาวพุทธได้รับจาก กรณี พระธัมมชโย มากที่สุด
การนำความศรัทธาของชาวพุทธมาแปลงเป็นผลประโยชน์เข้าวัดในรูปของการทำบุญ                                ร้อยละ          25.9
แสดงให้เห็นว่าชาวพุทธมีความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนาน้อยมากจึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหลศรัทธา          ร้อยละ          24.9
การปล่อยให้มีการปลูกฝังคำสอนที่ผิดบิดเบือนในการสอนพระธรรมะแก่พระสงฆ์อุบาสกและอุบาสิกาจนกลายเป็นปัญหาใหญ่      ร้อยละ          21.1
การอาศัยความศรัทธาของชาวพุทธมาเป็นโล่ปกป้องความผิดของตนเอง                                         ร้อยละ          12.2
แสดงให้เห็นถึงความไม่เข็มแข็งของผู้กำกับดูแลพุทธศาสนาที่ปล่อยให้ธรรมกายแผ่วงกว้าง                            ร้อยละ          11.3
ใช้สิทธิ์อันมิชอบธรรมสร้างสำนักสงฆ์สาขาธรรมกายบนพื้นที่เขตป่าสงวน                                         ร้อยละ           4.6

2.  เรื่องที่กระทบต่อแนวคิดและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจาก“กรณีธรรมกาย”(ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญโดยเห็นบุญเป็นสินค้าจ่ายเยอะได้บุญเยอะ                                     ร้อยละ          63.5
ใช้การตลาดเข้ามาบริหารวัดซึ่งขัดต่อพระพุทธศาสนาที่เน้นความเรียบง่าย                                       ร้อยละ          51.3
สร้างค่านิยมที่“หวังผลดลบันดาล”มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์                                              ร้อยละ          50.6
มีการบิดเบือนพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกทำให้เข้าใจหลักธรรมคลาดเคลื่อน                                  ร้อยละ          48.7

3. ความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในขณะนี้
กังวลค่อนมากถึงมากที่สุด                                                                          ร้อยละ           45.4
(กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 32.6    และ กังวลมากที่สุด ร้อยละ 12.8)
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                                                       ร้อยละ           54.6
(กังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 19.5     และ กังวลน้อยที่สุด 35.1)

4. ประเด็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ควรมีการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
ยึดและเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา                                                 ร้อยละ          35.8
ความประพฤติตามวินัยสงฆ์อันใดไม่ใช่กิจของสงฆ์ไม่ควรยุ่ง                                                  ร้อยละ          27.7
กลั่นกรองผู้เข้ามาบวชเรียนอย่างเคร่งครัด                                                             ร้อยละ          10.2
ดูแลเรื่องการเอาความศรัทธาของชาวพุทธมาเป็นรายได้เช่นกำหนดราคาดอกไม้ธูปเทียนกำหนด
เงินในการทำบุญเป็นลำดับขั้น ตามวัดต่างๆฯลฯ                                                          ร้อยละ          9.1
ตรวจจับพระปลอมไม่ให้ศาสนามัวหมอง                                                                ร้อยละ          7.2
พัฒนาศาสนสถานให้เป็นพื้นที่บุญอย่างแท้จริง                                                             ร้อยละ          4.7
ไม่ต้องปฏิรูปเพราะดีอยู่แล้ว                                                                        ร้อยละ          5.3

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากกรณี พระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย ในประเด็นต่างๆ ที่กระทบต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนเรื่อง ความกังวลต่อการศรัทธาในพระพุทธศาสนาและเรื่องที่ควรปฏิรูปรูปในวงการพุทธศาสนาเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่นับถือศาสนาพุทธ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-10 มีนาคม 2560

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 มีนาคม 2560

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                 571      53.1
          หญิง                                 504      46.9
          รวม                               1,075       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         139      12.9
          31 ปี – 40 ปี                         205      19.1
          41 ปี – 50 ปี                         290        27
          51 ปี - 60 ปี                         255      23.7
          61 ปี ขึ้นไป                           186      17.3
          รวม                               1,075       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                        651      60.5
          ปริญญาตรี                             332      30.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                         92       8.6
          รวม                               1,075       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                          140        13
          ลูกจ้างเอกชน                          242      22.5
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          442      41.1
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  46       4.3
          ทำงานให้ครอบครัว                        4       0.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              161        15
          นักเรียน/ นักศึกษา                       23       2.1
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม              17       1.6
          รวม                               1,075       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ