รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาส 2/2559

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 22, 2016 14:51 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2559 (เมษายน - มิถุนายน 2559)

ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ 2/2559 ชะลอตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาภัยแล้ง และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

จากผลการสำรวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ในช่วงเดือนมีนาคม 2559 จากผู้ประกอบการจำนวน 1,924 ราย พบว่า ดัชนีภาวะธุรกิจ มีค่า 42.6 ต่ำกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 42.9 ค่าดัชนีต่ำกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่น เนื่องจากมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ต้นทุนและการแข่งขันสูงขึ้น

ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้า มีค่า 51.2 ซึ่งมีค่าสูงกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2559 ยังมีทิศทางที่ดี จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ อาทิ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนภาครัฐเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตร

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายสาขา

เมื่อพิจารณาจากผู้ประกอบการเป็นรายสาขา พบว่า เกือบทุกสาขามีความเห็นว่าภาวะธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้น สาขาเกษตรกรรม และก่อสร้าง ที่มีการปรับลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น

สำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่ค่าดัชนียังสูงกว่า 50 ยกเว้น สาขาเกษตรกรรม ผู้ประกอบการมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค

ภาวะธุรกิจรายภาคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า ในเกือบทุกภาค ยกเว้น ภาคกลาง มีค่าต่ำผู้ประกอบการเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขาการเงินและประกันภัยเท่านั้น กว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้น กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ความผันผวนของอัตราอย่างไรก็ตามนักธุรกิจยังมีความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะดีขึ้นในทุกสาขา โดยมีแลกเปลี่ยน ต้นทุนและการแข่งขันสูงขึ้น ความหวังว่ารัฐบาลจะเข้ามาดูแลช่วยเหลือในด้านต่างๆ

สำหรับการคาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นลดลง แต่ผู้ประกอบการในกรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ความเชื่อมั่นยังมีค่าเกินกว่า 50 ขณะที่ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 จากปัญหาภัยแล้ง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย การแข่งขันรุนแรงขึ้น ต้นทุนสูง รายได้ปรับตัวลดลง

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ความคิดเห็น

1. ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย

2. การแข่งขันสูง ขาดแคลนแรงงานและเงินทุนหมุนเวียน สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ

3. ภาวะภัยแล้ง ผลผลิตลดลง ขาดวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

4. หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น

5. ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

6. ธุรกิจขาดการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ

7. การส่งออกได้รับผลกระทบ จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและนโยบายดอกเบี้ยติดลบของประเทศคู่ค้า เช่น

ญี่ปุ่น ยุโรป เงินไหลเข้ามาในประเทศ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. กระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ

2. ควรส่งเสริมด้านการตลาด ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และหาตลาดใหม่ๆ

3. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อลดค่าครองชีพ

4. มีมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ

5. พัฒนาภาคเกษตรให้มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตและการจัดการ เพื่อเพิ่มมูลค่า และปริมาณการผลิต

6. จัดกิจกรรมธงฟ้า เพื่อให้เงินหมุนเวียน มีการใช้จ่าย

7. ขยายการลงทุนไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการจ้างงาน

8. พัฒนาฝีมือแรงงาน และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

9. ดูแลปัญหาสังคม จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว 10. ราคาเหล็กผันผวนมาก รัฐควรให้ข้อมูลการออก Anti dumping หรือ Safeguard ทางสื่อสาธารณะ 11. ภาครัฐควรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเรื่อง Digital Economy พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการของแต่ละจังหวัด และกำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อเป็นนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของแต่ละพื้นที่ อย่างเหมาะสม 12. ช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศให้ฟื้นตัว 13. รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน 14. เพิ่มสภาพคล่อง ลดภาษีที่เก็บซ้ำซ้อน และคืนภาษีให้รวดเร็ว เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ 15. ลดขั้นตอนด้านเอกสาร และการขอใบอนุญาตต่างๆ 16. สนับสนุนงบประมาณการเก็บกักน้ำ และราคาผลผลิตของพืชหลักของเกษตรกร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ