แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ข่าวการเมือง Tuesday December 1, 2015 15:45 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (E – W Corridor )

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการดำเนินงานของ คค. ในการขับเคลื่อนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและมีความพร้อม เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศในภาพรวมตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก – ตะวันตก (E – W Corridor )

สาระสำคัญของเรื่อง

คค. รายงานว่า ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) และแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก – ตะวันตก (E–W Corridor ) โดยแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) มีรายละเอียด ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สำหรับใช้ประกอบการกำกับติดตามการดำเนินงานและขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้บรรลุเป้าหมายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

2. สาระสำคัญ

คค. ได้พิจารณาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 ที่มีความพร้อมสามารถเริ่มประกวดราคาได้ในปี 2558 – 2560 จำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,796,385.77 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 โดยจำแนกโครงการลงทุนตามความพร้อมในการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่มดังนี้

2.1 กลุ่มโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว และสามารถประกวดราคาได้ในปี พ.ศ 2558 (ไตรมาสแรกปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) จำนวน 6 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนรวมจำนวน 186,307.55 ล้านบาท ประกอบด้วย

1) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น

2) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา – มาบตาพุด

3) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา

4) โครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

5) โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1

6) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2

2.2 กลุ่มโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสามารถเริ่มประกวดราคาได้ในปี 2559-2560 จำนวน 14 โครงการ ประกอบด้วย

1) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – บ้านโป่ง- กาญจนบุรี

2) โครงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ขนาดทาง 1 เมตร (Meter Gauge) 4 เส้นทาง ได้แก่

(1) ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ

(2) ช่วงนครปฐม – หัวหิน

(3) ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร

(4) ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ

3) โครงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) 4 เส้นทาง ได้แก่

(1) ช่วงหนองคาย – ขอนแก่น - นครราชสีมา – แก่งคอย – ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – มาบตาพุด

(2) ช่วงกรุงเทพฯ – พิษณุโลก – เชียงใหม่

(3) ช่วงกรุงเทพฯ – หัวหิน

(4) ช่วงกรุงเทพฯ – ระยอง

4) โครงการพัฒนารถไฟขนส่งมวลชน 4 เส้นทาง ได้แก่

(1) สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

(2) สายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี

(3) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง

(4) สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง

(5) สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 ธันวาคม 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ